Atrial Fibrillation และความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย
JAMA Intern Med. Published online November 4, 2013.
บทความเรื่อง Atrial Fibrillation and the Risk of Myocardial Infarction รายงานว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมีหลักฐานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ atrial fibrillation ขณะที่ความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายจาก atrial fibrillation ยังไม่มีการศึกษามาก่อน นักวิจัยได้ศึกษาความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายที่สัมพันธ์กับ atrial fibrillation จากชาวอเมริกัน 23,928 รายซึ่งไม่เป็นหัวใจขาดเลือด โดยรวบรวมจากงานวิจัย Reasons for Geographic and Racial Differences in Stroke (REGARDS) ระหว่างปี ค.ศ. 2003-2007 และติดตามถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 และให้เหตุการณ์รวมของกล้ามเนื้อหัวใจตาย (ถึงแก่ชีวิตและไม่ถึงแก่ชีวิต) เป็นผลลัพธ์หลัก
ตลอดการติดตาม 6.9 ปี (มัธยฐาน 4.5 ปี) มีเหตุการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจตาย 648 ครั้ง ซึ่งจากตัวแบบที่ปรับตามสังคมประชากรพบว่า atrial fibrillation สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้น 2 เท่าของความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย (hazard ratio [HR], 1.96 [95% CI, 1.52-2.52]) ความสัมพันธ์ยังคงมีนัยสำคัญ (HR, 1.70 [95% CI, 1.26-2.30]) หลังปรับคอเลสเตอรอลรวม, high-density lipoprotein cholesterol, การสูบบุหรี่, ความดันเลือดซิสโตลิก, ยาลดความดันเลือด, ดัชนีมวลกาย, โรคเบาหวาน, การใช้ยา warfarin, การใช้ยา aspirin, การใช้ยา statin, ประวัติสโตรคและโรคหลอดเลือด, estimated glomerular filtration rate, อัตราส่วน albumin ต่อ creatinine ratio และระดับ C-reactive protein จากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่า ความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจตายที่สัมพันธ์กับ atrial fibrillation สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในผู้หญิง (HR, 2.16 [95% CI, 1.41-3.31]) เทียบกับผู้ชาย (HR, 1.39 [95% CI, 0.91-2.10]) และในกลุ่มเชื้อสายแอฟริกัน (HR, 2.53 [95% CI, 1.67-3.86]) เทียบกับกลุ่มเชื้อสายยุโรป (HR, 1.26 [95% CI, 0.83-1.93]) (for interactions, p = 0.03 and p = 0.02) ขณะที่ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญด้านความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายที่สัมพันธ์กับ atrial fibrillation ในกลุ่มอายุมาก (≥ 75 ปี) เทียบกับกลุ่มอายุน้อยกว่า (< 75 ปี) (HR, 2.00 [95% CI, 1.16-3.35] และ HR, 1.60 [95% CI, 1.11-2.30], respectively) (for interaction, p = 0.44)
ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า atrial fibrillation อันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสโตรคที่ทราบกันดียังสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายด้วย โดยเฉพาะในผู้หญิงและผู้มีเชื้อสายแอฟริกัน