ลดผลข้างเคียง intravenous acetylcysteine รักษาพิษพาราเซตามอล
The Lancet, Early Online Publication, 28 November 2013.
บทความเรื่อง Reduction of Adverse Effects from Intravenous Acetylcysteine Treatment for Paracetamol Poisoning: A Randomised Controlled Trial รายงานว่า พิษจากพาราเซตามอลเป็นปัญหาที่พบทั่วโลก แต่การรักษาด้วย intravenous acetylcysteine มีความยุ่งยากและมักทำให้เกิดผลข้างเคียงซึ่งอาจทำให้ต้องหยุดยา นักวิจัยจึงศึกษาแนวทางการลดผลข้างเคียงด้วยการปรับระยะของ acetylcysteine ให้สั้นลง ให้ยาต้านอาเจียนก่อนการรักษา หรือทั้งสองอย่าง
การศึกษามีขึ้นยังโรงพยาบาล 3 แห่งในสหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2010 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยสุ่มให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดได้รับการรักษาด้วย intravenous acetylcysteine มาตรฐาน (ระยะ 20-25 ชั่วโมง) หรือสั้นกว่า (12 ชั่วโมง) โดยให้ intravenous ondansetron (4 มิลลิกรัม) ก่อนการรักษา หรือให้ intravenous acetylcysteine อย่างเดียว การปกปิดทำโดยให้ 5% dextrose (ระหว่างให้ acetylcysteine) หรือน้ำเกลือ (สำหรับให้ยาต้านอาเจียนก่อนการรักษา) โดย primary outcome ได้แก่ ไม่มีอาเจียน คลื่นไส้ หรือจำเป็นต้องได้รับ rescue antiemetic ที่ 2 ชั่วโมง และ prespecified secondary outcomes รวมถึงการเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ของ alanine aminotransferase activity จากค่าที่วัดได้เมื่อรับผู้ป่วย ทั้งนี้นักวิจัยวิเคราะห์แบบ intention to treat
มีผู้ป่วย 217 รายที่สามารถประเมินที่ 2 ชั่วโมงหลังเริ่มให้ acetylcysteine อาการอาเจียน คลื่นไส้ หรือจำเป็นต้องได้ rescue antiemetic ที่ 2 ชั่วโมงพบในผู้ป่วย 39 รายจาก 108 รายในกลุ่มที่ให้ยาระยะสั้นกว่าเทียบกับ 71 รายจาก 109 รายที่ได้ acetylcysteine ตามมาตรฐาน (adjusted odds ratio 0.26, 97.5% CI 0.13-0.52; p < 0.0001) และใน 45 รายจาก 109 รายที่ได้ ondansetron เทียบกับ 65 รายจาก 108 รายที่ได้ยาหลอก (0.41, 0.20-0.80; p = 0.003) มีรายงาน anaphylactoid reactions รุนแรงในผู้ป่วย 5 รายที่ได้ acetylcysteine ระยะสั้นเทียบกับ 31 รายที่ได้ตามมาตรฐาน (adjusted common odds ratio 0.23, 97.5% CI 0.12-0.43; p < 0.0001) โดยสัดส่วนของผู้ป่วยที่มี alanine aminotransferase activity เพิ่มขึ้น 50% ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ตามมาตรฐาน (9/110) และกลุ่มที่ได้ยาสั้นกว่า (13/112) (adjusted odds ratio 0.60, 97.5% CI 0.20-1.83) อย่างไรก็ดี สัดส่วนของผู้ป่วยสูงกว่าในกลุ่มที่ได้ ondansetron (16/111) เทียบกับยาหลอก (6/111; 3.30, 1.01-10.72; p = 0.024)
การรักษาด้วย acetylcysteine 12 ชั่วโมงในผู้ป่วยที่เกิดพิษจากพาราเซตามอลสามารถลดการอาเจียน, anaphylactoid reactions และความจำเป็นในการหยุดยา อย่างไรก็ดี เนื่องจากงานวิจัยนี้ไม่สามารถประเมินความไม่ด้อยกว่าของการให้ยาระยะสั้นเทียบกับมาตรฐาน จึงควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการรักษาด้วย acetylcysteine 12 ชั่วโมง