บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในผู้หญิงอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในผู้หญิงอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

The Lancet, Early Online Publication, 28 November 2013.

บทความเรื่อง Individualised Pelvic Floor Muscle Training in Women with Pelvic Organ Prolapse (POPPY): A Multicentre Randomised Controlled Trial รายงานว่า ภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนเป็นปัญหาที่พบบ่อยและสัมพันธ์กับการคลอดบุตรและอายุที่เพิ่มขึ้น และแม้ว่าผู้หญิงที่ประสบปัญหามักได้รับคำแนะนำให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน แต่หลักฐานที่สนับสนุนประโยชน์ของการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยังคงมีจำกัด 

นักวิจัยประเมินผลของการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแบบตัวต่อตัวเพื่อลดอาการจากภาวะหย่อนคล้อย โดยศึกษาจากโรงพยาบาล 25 แห่งในสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ถึงวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2010 นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วยหญิงที่เพิ่งตรวจพบและมีอาการในระยะ stage I, II หรือ III ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือให้เอกสารแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อ (กลุ่มควบคุม) โดย primary endpoint ได้แก่ อาการหย่อนที่ผู้ป่วยรายงานที่ 12 เดือน และวิเคราะห์แบบ intention-to-treat

นักวิจัยสุ่มผู้ป่วย 447 รายเป็นกลุ่มแทรกแซง (n = 225) หรือกลุ่มควบคุม (n = 222) โดยมีผู้ป่วย 377 ราย (84%) ที่สามารถติดตามแบบสอบถามที่ 6 เดือน และ 295 ราย (66%) สำหรับแบบสอบถามที่ 12 เดือน ผู้หญิงในกลุ่มแทรกแซงรายงานว่ามีอาการหย่อนน้อยกว่า (มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน [POP-SS]) ที่ 12 เดือนเทียบกับกลุ่มควบคุม (mean reduction ในPOP-SS จากเส้นฐานเท่ากับ 3.77 [SD 5.62] vs 2.09 [5.39]; adjusted difference 1.52, 95% CI 0.46-2.59; p = 0.0053) โดยที่อาการไม่พึงประสงค์ (อาการทางช่องคลอด 6 ราย, ปวดหลัง 1 ราย และปวดท้อง 1 ราย) และอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง (1 ราย) ซึ่งทั้งหมดพบในผู้ป่วยกลุ่มแทรกแซงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงหรือเข้าร่วมการศึกษา

การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีประโยชน์สำหรับฟื้นฟูอาการหย่อน จึงควรมีการศึกษาประโยชน์ในระยะยาวรวมถึงผลลัพธ์ในผู้ป่วยกลุ่มย่อย