การดื่มนมช่วงวัยรุ่นและความเสี่ยงสะโพกหักวัยชรา

การดื่มนมช่วงวัยรุ่นและความเสี่ยงสะโพกหักวัยชรา

JAMA Pediatr. 2014;168(1):54-60.

บทความเรื่อง Milk Consumption During Teenage Years and Risk of Hip Fractures in Older Adults รายงานว่า การดื่มนมในช่วงวัยรุ่นได้รับการแนะนำเพื่อเพิ่มมวลกระดูกและลดความเสี่ยงกระดูกหักในวัยชรา อย่างไรก็ดี บทบาทของการดื่มนมในการป้องกันสะโพกหักยังไม่มีข้อมูลชัดเจน และการดื่มนมในปริมาณมากอาจมีผลต่อความเสี่ยงจากการเพิ่มส่วนสูง

นักวิจัยศึกษาว่าการดื่มนมระหว่างช่วงวัยรุ่นมีผลต่อความเสี่ยงกระดูกหักในช่วงผู้ใหญ่อายุมากหรือไม่ และศึกษาบทบาทของความสูงที่เพิ่มขึ้นในความสัมพันธ์ดังกล่าว

นักวิจัยศึกษาแบบ prospective cohort study และติดตามนานกว่า 22 ปีในผู้หญิงวัยทองกว่า 96,000 รายจากการศึกษา Nurses’ Health Study และผู้ชายอายุ 50 ปีหรือมากกว่าจากการศึกษา Health Professionals Follow-up Study ในสหรัฐอเมริกา

ความถี่การดื่มนมและอาหารอื่นระหว่างอายุ 13-18 ปี และส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นมีรายงานที่เส้นฐาน ขณะที่ชนิดอาหารที่รับประทานในปัจจุบัน น้ำหนัก การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การใช้ยา และปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อกระดูกสะโพกหักมีรายงานจากแบบสอบถามที่สำรวจทุกสองปี นักวิจัยใช้ตัวแบบ Cox proportional hazards models คำนวณค่า calculate relative risks (RRs) ของอุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักครั้งแรกจากความเปราะบางต่อการดื่มนมวันละหนึ่งแก้ว (8 fl oz หรือ 240 mL) ระหว่างช่วงวัยรุ่น

ระหว่างการติดตามมีรายงานกระดูกสะโพกหัก 1,226 รายในผู้หญิง และ 490 รายในผู้ชาย หลังจากควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการดื่มนมในปัจจุบันพบว่า การดื่มนมเพิ่มขึ้นทุกหนึ่งแก้วต่อวันระหว่างช่วงวัยรุ่นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 9% ในผู้ชาย (RR = 1.09; 95% CI 1.01-1.17) แต่ความสัมพันธ์นี้ถูกกดลงเมื่อเพิ่มปัจจัยด้านความสูงเข้ามาในตัวแบบ (RR = 1.06; 95% CI 0.98-1.14) ขณะที่การดื่มนมในช่วงวัยรุ่นไม่สัมพันธ์กับกระดูกสะโพกหักในผู้หญิง (RR = 1.00 per glass per day; 95% CI 0.95-1.05)

การดื่มนมเพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่นไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อกระดูกสะโพกหักในผู้ใหญ่อายุมาก และความสัมพันธ์เชิงบวกของการดื่มนมและกระดูกสะโพกหักซึ่งพบในผู้ชายส่วนหนึ่งเป็นผลจากส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น