ความเสี่ยงสูงขึ้นต่อ Acute MI และสโตรค
ระหว่าง Hemorrhagic Fever ร่วมกับ Renal Syndrome
CIRCULATIONAHA.113.001870
บทความเรื่อง Increased Risk of Acute Myocardial Infarction and Stroke During Hemorrhagic Fever with Renal Syndrome: A Self-Controlled Case Series Study รายงานว่า การเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดพบได้บ่อยในผู้ป่วย hemorrhagic fever with renal syndrome (HFRS) อันเป็นผลจาก hantavirus อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลว่า HFRS เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และสโตรค
นักวิจัยเชื่อมโยงจำนวนผู้ป่วยจากฐานข้อมูลผู้ป่วย HFRS ของสวีเดน (ค.ศ. 1997-2012; n = 6,643) กับทะเบียน National Patient Register ระหว่างปี ค.ศ. 1987-2011 นักวิจัยใช้วิธี self-controlled case series method เทียบ incidence rate ratio (IRR) ของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน/สโตรคใน 21 วันหลังจาก HFRS กับระยะควบคุมซึ่งตัด fatal AMI/stroke (analysis 1) หรือรวม fatal AMI/stroke (analysis 2) ค่า IRRs (95% confidence intervals) สำหรับ analysis 1 และ 2 สำหรับ AMI events ทั้งหมดเท่ากับ 5.53 (2.6-11.8) และ 6.02 (2.95-12.3) และสำหรับ AMI events ครั้งแรกเท่ากับ 3.53 (1.25-9.96) และ 4.64 (1.83-11.77) ค่า IRRs สำหรับ analysis 1 และ 2 สำหรับ stroke events ทั้งหมดเท่ากับ 12.93 (5.62-29.74) และ 15.16 (7.21-31.87) และสำหรับสโตรคทั้งหมดเท่ากับ 14.54 (5.87-36.04) และ 17.09 (7.49-38.96) โดย stroke events ส่วนใหญ่เกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลัง HFRS จากกการศึกษาไม่พบผลกระทบของฤดูกาล และส่วนใหญ่ไม่พบว่าเพศหรืออายุมีผลต่อความสัมพันธ์ที่พบ
ความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในระยะสั้นหลังจาก HFRS ดังนั้น จึงควรติดตามผู้ป่วย HFRS อย่างใกล้ชิดในช่วงระยะเฉียบพลันเพื่อดูอาการของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือสโตรคได้อย่างทันท่วงที