ติดตามมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นซ้ำด้วย CEA และ CT
JAMA. 2014;311(3):263-270.
บทความวิจัยเรื่อง Effect of 3 to 5 Years of Scheduled CEA and CT Follow-up to Detect Recurrence of Colorectal Cancer: The FACS Randomized Clinical Trial รายงานว่า การติดตามอย่างเคร่งครัดภายหลังการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไป แต่เนื่องจากหลักฐานที่สนับสนุนยังคงมีจำกัด นักวิจัยจึงศึกษาผลของการกำหนดตารางตรวจ carcinoembryonic antigen (CEA) และ computed tomography (CT) ในการติดตามเพื่อตรวจการเป็นซ้ำของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นักวิจัยดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบจากโรงพยาบาลรัฐ 39 แห่งในสหราชอาณาจักร และรวบรวมผู้ป่วย 1,202 ราย ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 2003 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 โดยผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและได้รับการศึกษาเสริมหากมีข้อบ่งชี้ และไม่มีเซลล์มะเร็งเหลืออยู่
นักวิจัยสุ่มผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตรวจ CEA อย่างเดียว (n = 300), ตรวจ CT อย่างเดียว (n = 299), ตรวจ CEA + CT (n = 302) หรือติดตามแบบ minimum follow-up (n = 301) นักวิจัยตรวจค่า CEA ในเลือดทุก 3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี จากนั้นจึงตรวจทุก 6 เดือน ติดต่อกัน 3 ปี การตรวจ CT บริเวณหน้าอก ท้อง และเชิงกรานทำทุก 6 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี จากนั้นจึงตรวจปีละครั้ง ติดต่อกัน 3 ปี และติดตามกลุ่ม minimum follow-up เมื่อพบอาการ
ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การผ่าตัดรักษามะเร็งเป็นซ้ำ และผลลัพธ์รอง ได้แก่ อัตราตาย (อัตราตายรวม และอัตราตายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก) ระยะเวลาจนถึงตรวจพบการเป็นซ้ำ และการรอดชีพหลังการรักษามะเร็งเป็นซ้ำ
จากค่าเฉลี่ยการติดตาม 4.4 ปี (SD 0.8) พบมะเร็งเป็นซ้ำในผู้ป่วย 199 ราย (16.6%; 95% CI 14.5-18.7%) โดยผู้ป่วย 71 รายจาก 1,202 ราย (5.9%; 95% CI 4.6-7.2%) ได้รับการรักษามะเร็งเป็นซ้ำซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยตาม Dukes staging (stage A 5.1% [13/254]; stage B 6.1% [34/553]; stage C 6.2% [22/354]) การผ่าตัดรักษามะเร็งเป็นซ้ำเท่ากับ 2.3% (7/301) ในกลุ่ม minimum follow-up group, 6.7% (20/300) ในกลุ่ม CEA, 8% (24/299) ในกลุ่ม CT และ 6.6% (20/302) ในกลุ่ม CEA + CT เมื่อเทียบกับกลุ่ม minimum follow-up พบว่า absolute difference ด้านอัตราผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาในกลุ่ม CEA เท่ากับ 4.4% (95% CI 1.0-7.9%; adjusted odds ratio [OR], 3.00; 95% CI 1.23-7.33) ในกลุ่ม CT group เท่ากับ 5.7% (95% CI 2.2-9.5%; adjusted OR, 3.63; 95% CI 1.51-8.69) และในกลุ่ม CEA + CT เท่ากับ 4.3% (95% CI 1.0-7.9%; adjusted OR, 3.10; 95% CI 1.10-8.71) โดยพบว่าจำนวนการตายไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ติดตามอย่างเคร่งครัด (กลุ่ม CEA, CT และ CEA + CT; 18.2% [164/901]) vs กลุ่ม minimum follow-up (15.9% [48/301]; difference 2.3%; 95% CI -2.6 ถึง 7.1%)
ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษามะเร็งที่เป็น primary colorectal cancer พบว่า การตรวจ CT หรือ CEA ทำให้อัตราการผ่าตัดรักษาการเป็นซ้ำสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ minimal follow-up ขณะที่ไม่พบประโยชน์จากการทำ CEA และ CT ร่วมกัน และหากแต่ละแนวทางมีประโยชน์ด้านการรอดชีพก็คาดว่าจะมีประโยชน์ไม่มากนัก