มลพิษอากาศในบรรยากาศและอุบัติการณ์ของ Acute Coronary Event

มลพิษอากาศในบรรยากาศและอุบัติการณ์ของ Acute Coronary Event

BMJ 2014;348:f7412

บทความเรื่อง Long Term Exposure to Ambient Air Pollution and Incidence of Acute Coronary Events: Prospective Cohort Study and Meta-Analysis in 11 European Cohorts from The ESCAPE Project รายงานข้อมูลจากงานวิจัย European Study of Cohorts for Air Pollution Effects (ESCAPE) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการได้รับมลพิษอากาศในระยะยาวต่ออุบัติการณ์ของ acute coronary event ในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย 11 กลุ่มในฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก เยอรมนี และอิตาลี

นักวิจัยรวบรวมผู้เข้าร่วมวิจัย 100,166 รายจากปี ค.ศ. 1997-2007 และติดตามเฉลี่ย 11.5 ปี โดยผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดไม่เคยเกิด coronary event ที่พื้นฐาน มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ ค่า modelled concentrations ของฝุ่นละอองขนาด < 2.5 μm (PM2.5), 2.5-10 μm (PMcoarse) และ < 10 μm (PM10), เขม่า (PM2.5 absorbance), nitrogen oxides และการจราจรบริเวณบ้านพักอาศัยจากการวัดระดับมลพิษอากาศระหว่างปี ค.ศ. 2008-2012 ค่า hazard ratios จำเพาะตามกลุ่มประชากรสำหรับอุบัติการณ์ของ acute coronary events (กล้ามเนื้อหัวใจตาย และ unstable angina) ต่อสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของมลพิษอากาศโดยปรับตามปัจจัยเสี่ยงด้านสังคมประชากรและวิถีชีวิต และค่า pooled random effects meta-analytic hazard ratios

มีผู้เข้าร่วมวิจัย 5,157 รายที่เกิดเหตุการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ การเพิ่มขึ้นทุก 5 μg/m3 increase ของค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ในแต่ละปีสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 13% ต่อ coronary events (hazard ratio 1.13, 95% confidence interval 0.98-1.30) และการเพิ่มขึ้นทุก10 μg/m3 ของค่าเฉลี่ยฝุ่น PM10 ในแต่ละปีสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น 12% ต่อ coronary events (1.12, 1.01-1.25) โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับมลพิษอากาศและการเกิดเหตุการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ยังพบที่ระดับต่ำกว่ามาตรฐานปัจจุบันของยุโรปซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 μg/m3 สำหรับฝุ่น PM2.5 (1.18, 1.01-1.39 สำหรับการเพิ่มขึ้น 5 μg/m3 ของฝุ่น PM2.5) และต่ำกว่า 40 μg/m3 สำหรับฝุ่น PM10 (1.12, 1.00-1.27 สำหรับการเพิ่มขึ้น10 μg/m3 ของฝุ่น PM10) โดยพบความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญจากมลพิษตัวอื่นด้วย

การได้รับฝุ่นละอองในระยะยาวสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของ coronary event โดยพบความสัมพันธ์นี้จากระดับการได้รับฝุ่นซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานปัจจุบันของยุโรป