การรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นหรือร่วมกับขดลวดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่เป็น Intracranial Artery Stenosis

การรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นหรือร่วมกับขดลวดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่เป็น Intracranial Artery Stenosis

Lancet. 2014 Jan; 383(9914):333-341.

บทความเรื่อง Aggressive Medical Treatment with or without Stenting in High-Risk Patients with Intracranial Artery Stenosis (SAMMPRIS): The Final Results of a Randomised Trial อ้างถึงผลลัพธ์เบื้องต้นจากงานวิจัย Stenting and Aggressive Medical Management for Preventing Recurrent Stroke in Intracranial Stenosis ชี้ว่า ภายในวันที่ 30 ผู้ป่วย 33 ราย (14.7%) จาก 224 รายในกลุ่มรักษาด้วยขดลวด และ 13 ราย (5.8%) จาก 227 รายในกลุ่มที่รักษาด้วยยาเสียชีวิตหรือเกิดสโตรค (ร้อยละเป็นค่า product limit estimates) แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าการรักษาด้วยขดลวดมีประโยชน์ระยะยาวหรือไม่ โดยในบทความนี้ได้รายงานผลลัพธ์ระยะยาวของผู้ป่วยในการศึกษาดังกล่าว

นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วยซึ่งเพิ่งเกิด transient ischaemic attack หรือสโตรคที่สัมพันธ์กับการตีบตัน 70-99% ของ major intracranial artery ได้รับการรักษาด้วยยาแบบเข้มข้น (ยาต้านเกล็ดเลือด การควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดอย่างเคร่งครัด และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต) หรือการรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นร่วมกับขดลวด โดย primary endpoint ได้แก่ สโตรคหรือการตายภายใน 30 วันหลังเข้าร่วมวิจัย หรือ ischaemic stroke ในบริเวณหลอดเลือดแดงที่ศึกษาภายหลัง 30 วันนับจากเข้าร่วมวิจัย หรือสโตรคหรือการตายภายใน 30 วันหลังการสวนหลอดเลือดระหว่างการติดตาม การวิเคราะห์ primary endpoint ด้านความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย log-rank test วิเคราะห์แบบ intention-to-treat

ระหว่างมัธยฐานการติดตาม 32.4 เดือน พบผู้ป่วย 34 ราย (15%) จาก 227 รายในกลุ่มรักษาด้วยยา และ 52 ราย (23%) จาก 224 รายในกลุ่มรักษาด้วยขดลวดเกิดเหตุการณ์ของ primary endpoint ค่าความน่าจะเป็นสะสมของ primary endpoints มีระดับต่ำกว่าในกลุ่มรักษาด้วยยาเทียบกับกลุ่มทำ percutaneous transluminal angioplasty and stenting (PTAS) (p = 0.0252) หลังจาก 30 วัน พบว่าผู้ป่วย 21 ราย (10%) จาก 210 รายในกลุ่มที่รักษาด้วยยา และ 19 ราย (10%) จาก 191 รายในกลุ่มรักษาด้วยขดลวดเกิด primary endpoint ค่า absolute differences ของอัตราการเกิด primary endpoint ระหว่างทั้งสองกลุ่มเท่ากับ 7.1% ที่ 1 ปี (95% CI 0.2-13.8%; p = 0.0428), 6.5% ที่ 2 ปี (-0.5 ถึง 13.5%; p = 0.07) และ 9.0% ที่ 3 ปี (1.5-16.5%; p = 0.0193) โดยพบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ สโตรค (59 ราย [26%] จาก 224 ราย vs 42 ราย [19%] จาก 227 ราย; p = 0.0468) และ major haemorrhage (29 ราย [13%] จาก 224 ราย vs 10 [4%] จาก 227 ราย; p = 0.0009) พบมากกว่าในกลุ่ม PTAS เทียบกับกลุ่มรักษาด้วยยา

ประโยชน์ของการรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นที่เห็นผลดีเร็วกว่าขดลวดสำหรับผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่เป็น intracranial stenosis ยังคงเห็นได้จากการติดตาม ดังนั้น ผลลัพธ์นี้จึงสนับสนุนการรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นแทน PTAS ในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่เป็น atherosclerotic intracranial arterial stenosis