Fructosamine และ Glycated Albumin ชี้ความเสี่ยงเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดใหญ่

Fructosamine และ Glycated Albumin ชี้ความเสี่ยงเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดใหญ่

The Lancet Diabetes & Endocrinology, Early Online Publication, 15 January 2014.

บทความเรื่อง Fructosamine and Glycated Albumin for Risk Stratification and Prediction of Incident Diabetes and Microvascular Complications: A Prospective Cohort Analysis of the Atherosclerosis Risk in Communities (ARIC) Study รายงานว่า ค่า HbA1c เป็นเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมน้ำตาลระยะยาว (2-3 เดือน) ในผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ขณะที่ fructosamine และ glycated albumin เป็นตัวบ่งชี้ของการควบคุมน้ำตาลระยะสั้น (2-4 สัปดาห์) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลเสริมการทำนายของ HbA1c นักวิจัยจึงศึกษาประสิทธิภาพของการตรวจ fructosamine และ glycated albumin สำหรับการบ่งชี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นักวิจัยตรวจ fructosamine และ glycated albumin จากตัวอย่างเลือดของผู้ใหญ่ 11,348 รายซึ่งไม่เป็นเบาหวาน และผู้ใหญ่ 958 รายซึ่งตรวจพบโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 และได้รับการตรวจซ้ำในการศึกษา Atherosclerosis Risk in Communities (ARIC) ระหว่างปี ค.ศ. 1990-1992 (พื้นฐาน) นักวิจัยได้ประเมินความสัมพันธ์ระหว่าง fructosamine และ glycated albumin กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจอตาเสื่อมจากเบาหวาน และความเสี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรังระหว่างการติดตามระยะ 20 ปี โดยได้เปรียบเทียบความสัมพันธ์นี้กับความสัมพันธ์ระหว่างค่า HbA1c และการเกิดโรคเบาหวาน จอตาเสื่อมจากเบาหวาน และความเสี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรัง โดย Cox proportional hazards models ประมาณค่า hazard ratios (HRs) ที่ปรับแล้ว และ 95% CIs ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานและโรคไตเรื้อรัง ทั้งนี้นักวิจัยจำแนกตัวแบบด้วย Harrell's C statistic

ค่า HRs สำหรับการเกิดโรคเบาหวานเท่ากับ 4.96 (4.36-5.64) สำหรับ fructosamine ที่สูงกว่า 95th percentile และ 6.17 (5.45-6.99) สำหรับ glycated albumin ที่สูงกว่า 95th percentile ซึ่งความสัมพันธ์อ่อนลงแต่ยังคงมีอยู่หลังการปรับตาม HbA1c โดยที่ fructosamine และ glycated albumin สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับจอตาเสื่อมจากเบาหวาน (p < 0.0001 for trend) ค่า HRs ปรับพหุตัวแปรสำหรับโรคไตเรื้อรังในผู้ที่มี fructosamine และ glycated albumin สูงกว่า 95th percentile เท่ากับ 1.50 (95% CI 1.22-1.85) และ 1.48 (1.20-1.83) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานและมี fructosamine หรือ glycated albumin ต่ำกว่า 75th percentile การทำนายอุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังจาก fructosamine (C statistic 0.717) และ glycated albumin (0.717) ใกล้เคียงกับ HbA1c (0.726) แต่ HbA1c ให้ผลดีกว่า fructosamine และ glycated albumin สำหรับการทำนายการเกิดโรคเบาหวานโดยมี C statistics เท่ากับ 0.760, 0.706 และ 0.703

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า fructosamine และglycated albumin มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก โดยมีค่าการทำนายเทียบเท่ากับ HbA1c