ผลลัพธ์คาเฟอีนต่อ Intermittent Hypoxia ในทารกคลอดก่อนกำหนด

ผลลัพธ์คาเฟอีนต่อ Intermittent Hypoxia ในทารกคลอดก่อนกำหนด

JAMA Pediatr. Published Online January 20, 2014.

บทความเรื่อง Effects of Caffeine on Intermittent Hypoxia in Infants Born Prematurely: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า ทารกคลอดก่อนกำหนดมีระบบทางเดินหายใจที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์อันเป็นสาเหตุของภาวะ intermittent hypoxia (IH) ขณะที่ยังคงไม่มีข้อมูลของ IH ภายหลังหยุดการรักษาด้วยคาเฟอีนและประสิทธิภาพการลด IH จากการรักษาต่อเนื่องด้วยคาเฟอีน

นักวิจัยศึกษาความถี่การเกิด IH ในทารกคลอดก่อนกำหนดหลังหยุดคาเฟอีน และศึกษาว่าการยืดระยะการรักษาด้วยคาเฟอีนจนถึง 40 สัปดาห์ของอายุ postmenstrual age (PMA) ลด IH ได้หรือไม่

นักวิจัยศึกษาจากหน่วยไอซียูเด็กแรกเกิด 16 แห่งในสหรัฐอเมริกา โดยมีระยะการรวบรวมข้อมูล 18 เดือน นักวิจัยสุ่มทารกคลอดก่อนกำหนด (< 32 weeks’ gestation) ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยคาเฟอีน กลุ่มรักษาด้วยคาเฟอีนต่อเนื่อง หรือกลุ่มรักษามาตรฐาน (กลุ่มควบคุม) ที่อายุ PMA อย่างน้อย 34 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 37 สัปดาห์ และบันทึกค่าออกซิเจนจนถึงอายุ PMA 40 สัปดาห์

การแทรกแซงทำโดยให้การรักษาด้วยคาเฟอีนต่อเนื่อง และมาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ จำนวนเหตุการณ์ของ IH และระยะเวลาเป็นวินาทีที่ hemoglobin oxygen saturation (SaO2) ต่อชั่วโมงของการบันทึกต่ำกว่า 90%

นักวิจัยวิเคราะห์จากทารกคลอดก่อนกำหนด 95 ราย โดยในกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ย (SD) เวลาที่ SaO2 ต่ำกว่า 90% ที่อายุ PMA 35 และ 36 สัปดาห์เท่ากับ 106.3 (89.0) และ 100.1 (114.6) วินาที/ชั่วโมง จำนวนเหตุการณ์ของ IH ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากอายุ PMA 35-39 สัปดาห์ (p = 0.01) การรักษาต่อเนื่องด้วยคาเฟอีนลดค่าเฉลี่ยของเวลาที่ SaO2 ต่ำกว่า 90% ได้ 47% (95% CI -65 ถึง -20%) ถึง 50.9 (48.1) วินาที/ชั่วโมงที่ 35 สัปดาห์และ 45% (95% CI -74 ถึง -17%) ถึง 49.5 (52.1) วินาที/ชั่วโมงที่ 36 สัปดาห์

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า IH ยังคงเกิดขึ้นหลังหยุดคาเฟอีน โดยเริ่มลดลงตามอายุ PMA ที่มากขึ้น และการรักษาต่อเนื่องด้วยคาเฟอีนสามารถลด IH ในทารกคลอดก่อนกำหนด