ขนาดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกชนิดสี่สายพันธ์ุและหูด
JAMA. 2014;311(6):597-603.
บทความเรื่อง Association of Varying Number of Doses of Quadrivalent Human Papillomavirus Vaccine with Incidence of Condyloma รายงานว่า การคำนวณขนาดวัคซีนที่เหมาะสมต่อการป้องกันโรคเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการเข้าถึงวัคซีน ซึ่งปัจจุบันการฉีดวัคซีน 3 เข็มยังคงเป็นที่แนะนำทั้งสำหรับวัคซีนป้องกัน human papillomavirus (HPV) ทั้งชนิด 2 สายพันธ์ ุและ 4 สายพันธ์ุ และแม้การฉีดวัคซีน HPV มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่วัคซีนชนิด 4 สายพันธ์ุก็สามารถป้องกันหูดซึ่งสัมพันธ์กับ HPV สายพันธ์ุ 6 และ 11 และนับเป็นผลลัพธ์ด้านการป้องกันโรคสำหรับวัคซีน HPV ที่เห็นผลเร็วที่สุด
นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธ์ุ และการเกิดหูดครั้งแรกประเมินตามขนาดของวัคซีน นักวิจัยติดตามการฉีดวัคซีน HPV และการเกิดหูดครั้งแรกจากผู้หญิงอายุ 10-24 ปีในสวีเดน (n = 1,045,165) ระหว่างปี ค.ศ. 2006-2010 โดยอาศัยทะเบียนข้อมูลสุขภาพจากประชากรทั่วประเทศ นักวิจัยคำนวณ incidence rate ratios (IRRs) และ incidence rate differences (IRDs) ของหูดด้วย Poisson regression โดยให้ขนาดของวัคซีนเป็น exposure ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา โดยปรับตามอายุปัจจุบันและการศึกษาของพ่อแม่ และจำแนกตามอายุขณะได้รับวัคซีนครั้งแรก
มีรายงานการเกิดหูด 20,383 รายระหว่างการติดตาม รวมถึง 322 รายภายหลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-16 ปีขณะได้รับวัคซีนเข็มแรกพบว่า การได้รับวัคซีน 3 เข็มสัมพันธ์กับค่า IRR ที่เท่ากับ 0.18 (95% CI 0.15-0.22) สำหรับหูด ขณะที่การได้รับวัคซีน 2 เข็มสัมพันธ์กับ IRR เท่ากับ 0.29 (95% CI 0.21-0.40) การได้รับวัคซีน 1 เข็มสัมพันธ์กับ IRR ที่เท่ากับ 0.31 (95% CI 0.20-0.49) โดยมี IRD เท่ากับ 384 ราย (95% CI 305-464) ต่อ 100,000 person-years เทียบกับการไม่ฉีดวัคซีน และ IRD สำหรับวัคซีน 2 เข็มเท่ากับ 40 ราย (95% CI 346-454) และสำหรับ 3 เข็มเท่ากับ 459 ราย (95% CI 437-482) จำนวนผู้ที่ป้องกันโรคได้ระหว่างการฉีดวัคซีน 3 และ 2 เข็มเท่ากับ 59 ราย (95% CI 2-117) ต่อ 100,000 person-years
แม้การลดความเสี่ยงต่อหูดได้มากที่สุดสามารถเห็นได้หลังการฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธ์ุเข็มที่ 3 แต่การฉีดวัคซีน 2 เข็มก็สัมพันธ์กับการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของความเสี่ยงต่อหูด อย่างไรก็ดี การประยุกต์ข้อมูลที่พบกับความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งการฉีดวัคซีนและความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม