โปรแกรมออกกำลังกายที่บ้านฟื้นสมรรถภาพร่างกายหลังสะโพกหัก

โปรแกรมออกกำลังกายที่บ้านฟื้นสมรรถภาพร่างกายหลังสะโพกหัก

JAMA. 2014;311(7):700-708.

บทความเรื่อง Effect of a Home-Based Exercise Program on Functional Recovery Following Rehabilitation after Hip Fracture: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า ปัญหาสมรรถภาพของการทำหน้าที่ของร่างกายหลังสะโพกหักพบบ่อยในผู้สูงอายุจำนวนมาก โดยที่ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมออกกำลังกายที่บ้านภายหลังสิ้นสุดการทำกายภาพบำบัดหลังจากสะโพกหัก

นักวิจัยศึกษาว่าโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านร่วมกับการให้คำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของการทำหน้าที่ของร่างกายภายหลังสิ้นสุดการทำกายภาพบำบัดหลังจากสะโพกหักได้หรือไม่ โดยศึกษาระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ถึงตุลาคม ค.ศ. 2012 จากผู้ใหญ่อายุมาก 232 ราย ซึ่งสิ้นสุดการทำกายภาพบำบัดหลังจากสะโพกหัก

กลุ่มรักษา (n = 120) ได้ออกกำลังกายซึ่งเน้นการทำหน้าที่ (เช่น ลุกยืนจากเก้าอี้ เดินขึ้นบันได) โดยมีนักกายภาพบำบัดให้การฝึกสอนสำหรับไปออกกำลังกายที่บ้านเป็นเวลา 6 เดือน และกลุ่มควบคุม (n = 112) ได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด

มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ สมรรถภาพการทำหน้าที่ด้านร่างกายประเมินที่พื้นฐาน, 6 เดือน (สิ้นสุดการแทรกแซง) และ 9 เดือน ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่ที่ 6 เดือน โดยประเมินจาก Short Physical Performance Battery (SPPB; range 0-12 โดยคะแนนที่สูงชี้ว่ามีการทำหน้าที่ดีขึ้น) และ Activity Measure for Post-Acute Care (AM-PAC) mobility และ daily activity (range 23-85 และ 9-101 โดยคะแนนที่สูงชี้ว่ามีการทำหน้าที่ดีขึ้น)

มีผู้ป่วย 195 ราย ได้รับการติดตามถึง 6 เดือน และรวบรวมไว้ใน primary analysis จากจำนวน 232 ราย กลุ่มรักษา (n = 100) มีการฟื้นตัวที่ดีอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (n = 95) ในด้านการเคลื่อนไหว (ค่าเฉลี่ยคะแนน SPPB สำหรับกลุ่มรักษาเท่ากับ 6.2 [SD 2.7] ที่พื้นฐาน, 7.2 [SD 3] ที่ 6 เดือน และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 6.0 [SD 2.8] ที่พื้นฐาน, 6.2 [SD 3] ที่ 6 เดือน โดยความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ 0.8 [95% CI 0.4-1.2], p < 0.001; ค่าเฉลี่ยคะแนน AM-PAC mobility สำหรับกลุ่มรักษาเท่ากับ 56.2 [SD 7.3] ที่พื้นฐาน, 58.1 [SD 7.9] ที่ 6 เดือน และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 56 [SD 7.1] ที่พื้นฐาน, 56.6 [SD 8.1] ที่ 6 เดือน โดยความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ 1.3 [95% CI 0.2-2.4], p = 0.03 และค่าเฉลี่ย AM-PAC daily activity สำหรับกลุ่มรักษาเท่ากับ 57.4 [SD 13.7] ที่พื้นฐาน, 61.3 [SD 15.7] ที่ 6 เดือน และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 58.2 [SD 15.2] ที่พื้นฐาน, 58.6 [SD 15.3] ที่ 6 เดือน โดยความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ 3.5 [95% CI 0.9-6.0], p = 0.03 ผลจาก multiple imputation analyses ชี้ว่า ความแตกต่างระหว่างกลุ่มยังคงมีนัยสำคัญสำหรับ SPPB และ AM-PAC daily activity แต่ไม่รวมถึงคะแนน mobility ความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีนัยสำคัญยังคงเห็นได้ที่ 9 เดือนสำหรับมาตรวัดผลลัพธ์ด้านการทำหน้าที่ทั้งหมด

ข้อมูลจากผู้ป่วยที่เสร็จสิ้นการทำกายภายบำบัดมาตรฐานหลังสะโพกหักชี้ว่า การออกกำลังกายที่บ้านเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการทำหน้าที่ด้านร่างกายช่วยให้การทำหน้าที่ดีขึ้นที่ 6 เดือน แต่ยังคงต้องมีการพิจารณานัยสำคัญทางคลินิกของข้อมูลนี้