ผลลัพธ์การรอดชีพตัดต่อมลูกหมากและฉายแสงในมะเร็งต่อมลูกหมาก
BMJ 2014;348:g1502.
บทความเรื่อง Comparative Effectiveness of Radical Prostatectomy and Radiotherapy in Prostate Cancer: Observational Study of Mortality Outcomes รายงานข้อมูลจากการศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์การรอดชีพในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่รักษาด้วยการผ่าตัดและฉายแสง โดยศึกษาในสวีเดนระหว่างปี ค.ศ. 1996-2010 ในผู้ชาย 34,515 รายที่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการผ่าตัด (n = 21,533) หรือฉายแสง (n = 12,982) และจำแนกผู้ป่วยตามกลุ่มความเสี่ยง (ต่ำ ปานกลาง สูง และลุกลาม) อายุ และคะแนน Charlson comorbidity score
มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ อุบัติการณ์สะสมของการตายเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากหรือสาเหตุอื่น ค่า risks regression hazard ratios ของการฉายแสงเทียบกับการผ่าตัดคำนวณโดยไม่ปรับ และคำนวณหลังการจับคู่คะแนนความโน้มเอียงและการปรับพหุตัวแปร รวมถึงคำนวณหลังการจับคู่คะแนนความโน้มเอียง และตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์ความไว
การตายเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นส่วนใหญ่ของการตายโดยรวมเมื่อความเสี่ยงสูงขึ้นทั้งในกลุ่มที่ผ่าตัดและฉายแสง ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเฉพาะที่พบว่า subdistribution hazard ratio ที่ปรับแล้วสำหรับการตายเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากมีผลดีกว่าสำหรับกลุ่มที่ผ่าตัด (1.76, 95% CI 1.49-2.08 for radiotherapy vs prostatectomy) ขณะที่ไม่พบผลต่างการรักษาที่ชัดเจนในผู้ป่วยมะเร็งลุกลาม การวิเคราะห์กลุ่มย่อยชี้ว่าการผ่าตัดมีประโยชน์ในผู้ชายที่อายุน้อยกว่าและสุขภาพแข็งแรงกว่าโดยมีความเสี่ยงระดับปานกลางถึงระดับสูง ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ความไวก็สอดคล้องกับข้อมูลหลัก
ข้อมูลจากการศึกษาขนาดใหญ่ซึ่งมีระยะการติดตามนานถึง 15 ปีชี้ว่า การผ่าตัดให้ผลลัพธ์ด้านการรอดชีพที่ดีกว่าการฉายแสงในผู้ชายส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม โดยการผ่าตัดจะให้ผลดีกว่าในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเฉพาะที่ซึ่งมีอายุน้อยกว่าและมีโรคน้อยกว่า และมีความเสี่ยงระดับปานกลางหรือสูง