ความชุกจอประสาทตาเสื่อมตามวัยและตัวเลขคาดการณ์ผู้ป่วยปี 2563-2583
Lancet Global Health 2014;2(2):e106-e116.
บทความเรื่อง Global Prevalence of Age-Related Macular Degeneration and Disease Burden Projection for 2020 and 2040: A Systematic Review and Meta-Analysis รายงานว่า มีการศึกษาโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัยในหลายประเทศทั่วโลก และงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าความแตกต่างด้านเชื้อชาติหรือชาติพันธ์ุมีผลต่อความชุกของโรค ซึ่งการนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำเป็นข้อมูลสรุปความชุกทั่วโลกและคาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยจากโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัยระหว่างปี พ.ศ. 2563-2583 จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข
นักวิจัยรวบรวมงานวิจัยแบบ population-based study ทั้งหมดที่ศึกษาโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัยซึ่งตีพิมพ์ก่อนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 และคัดเฉพาะงานวิจัยที่ใช้ภาพจอตาและการจำแนกมาตรฐาน (Wisconsin age-related maculopathy grading system, the international classification for age-related macular degeneration หรือ the Rotterdam staging system) และใช้ hierarchical Bayesian approaches ประมาณความชุกเฉลี่ย, 95% credible intervals (CrI) และประเมินความแตกต่างของความชุกตามชาติพันธ์ุ (ยุโรป แอฟริกัน ฮิสแปนิก และเอเชีย) และภูมิภาค (แอฟริกา เอเชีย ยุโรป ละตินอเมริกาและแคริบเบียน อมริกาเหนือ และโอเชียเนีย) โดยใช้ UN World Population Prospects คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2557-2583 และใช้ Bayes factor เป็นมาตรวัดนัยสำคัญของหลักฐาน โดยคะแนนที่สูงกว่า 3 ถือว่าเป็นหลักฐานที่มีนัยสำคัญ
การวิเคราะห์จากผู้เข้าร่วมวิจัย 129,664 ราย (อายุ 30-97 ปี) โดยมีผู้ป่วย 12,727 รายจากงานวิจัย 39 ชิ้นพบว่า ความชุกเฉลี่ย (พิสัยอายุ 45-85 ปี) ของจอประสาทตาเสื่อมตามวัยซึ่งเกิดเมื่ออายุน้อย อายุมาก และทุกช่วงอายุเท่ากับ 8.01% (95% CrI 3.98-15.49), 0.37% (0.18-0.77) และ 8.69% (4.26-17.40) โดยพบความชุกที่สูงกว่าของการเกิดจอประสาทตาเสื่อมตามวัยเมื่ออายุน้อยและในทุกช่วงอายุในชาวยุโรปเทียบกับเอเชีย (early: 11.2% vs 6.8%, Bayes factor 3.9; any: 12.3% vs 7.4%, Bayes factor 4.3) และความชุกของจอประสาทตาเสื่อมตามวัยเมื่ออายุน้อย อายุมาก และทุกช่วงอายุที่สูงกว่าในชาวยุโรปเทียบกับแอฟริกัน (early: 11.2% vs 7.1%, Bayes factor 12.2; late: 0.5% vs 0.3%, 3.7; any: 12.3% vs 7.5%, 31.3) แต่ไม่พบความแตกต่างของความชุกระหว่างชาวเอเชียและแอฟริกัน (all Bayes factors < 1.0) ชาวยุโรปมีความชุกของ geographic atrophy subtype ที่สูงกว่า (1.11%, 95% CrI 0.53-2.08) เทียบกับชาวแอฟริกัน (0.14%, 0.04-0.45), เอเชีย (0.21%, 0.04-0.87) และฮิสแปนิก (0.16%, 0.05-0.46) การเปรียบเทียบทางภูมิศาสตร์ชี้ว่า ความชุกของจอประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุน้อยและทุกช่วงอายุต่ำกว่าในเอเชียเทียบกับยุโรปและอเมริกาเหนือ (early: 6.3% vs 14.3% และ 12.8% [Bayes factor 2.3 และ 7.6]; any: 6.9% vs 18.3% และ 14.3% [3.0 และ 3.8]) และไม่พบผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญของเพศต่อความชุก (Bayes factor < 1.0) ทั้งนี้ตัวเลขคาดการณ์ของผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมจากอายุในปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ประมาณ 196 ล้านคน (95% CrI 140-261) และเพิ่มขึ้นเป็น 288 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 (205-399)
ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นปัญหาใหญ่จากโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย และเป็นข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาผลของโรคและช่วยกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพตาและบริการสาธารณสุข