ศัลยกรรมไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน

ภาพประกอบ 
1.ฯพณฯ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี 
2. นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ 
3. นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข 
4. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์

ศัลยกรรมไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน

สถาบันทางการแพทย์ไทย 4 แห่ง จับมือกันเปิดประชุมวิชาการ ประกาศความพร้อมเป็นหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลอดทั่วทั้งเอเชีย

เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม พ.. 2557 ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย และชมรมจักษุศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดอบรมวิชาการระดับโลก International Course of Masterclass Blepharoplasty ณ โรงแรม Millennium Hilton โดยมีการบรรยายและแสดงการผ่าตัดวิธีใหม่ ๆ ที่แพทย์ไทยเป็นผู้ค้นพบ โดยมี ฯพณฯ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

ทั้งนี้นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย โดย นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ ในฐานะประธานในการจัดการประชุมครั้งนี้ได้รวบรวมสุดยอดวิทยากรทั้งหมดถึง 36 ท่าน โดยเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทยทั้งหมด รวมทั้งได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย เวียดนาม โดยมิได้หวังผลทางกำไร แต่หวังผลให้มีการเรียนการสอนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างแท้จริง จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำตาซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 300 คน ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะการเมืองผิดปกติ อนึ่งถ้าหากมีการเมืองในภาวะปกติแล้ว นพ.ชลธิศ กล่าวว่า อาจมีผู้เข้าร่วมประชุม 400-500 คน ซึ่งเป็นการจัดงานที่ประสบความสำเร็จเกินคาด ทำให้เห็นอนาคตทางด้านศักยภาพของวงการแพทย์ไทยก้าวไกลสู่อาเชียน

นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ Masterclass Asian Blepharoplasty เป็นงานประชุมวิชาการว่าด้วยเรื่องการทำศัลยกรรมตกแต่งเปลือกตาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการศัลยกรรมความงามของไทยและในอาเซียน โดยระดมคณาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านจักษุ, แพทย์ผิวหนัง, ศัลยกรรม, โสต ศอ นาสิก และทันตแพทย์ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาร่วมถ่ายทอดความรู้ตามหลักวิชาการ รวมทั้งเทคนิคและวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถให้แก่แพทย์รุ่นใหม่ให้ได้ตามมาตรฐาน

“การผ่าตัดตกแต่งเปลือกตาอาจจะฟังดูเหมือนเป็นการศัลยกรรมเพื่อความงาม แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีคนไข้ที่มีอายุมากกลุ่มหนึ่งที่เปลือกตาหย่อน เมื่อเปลือกตาหย่อนมากจะบดบังการมองเห็น ทำให้การมองเห็นแย่ลง ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้จะต้องทำการผ่าตัดในลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นการเรียนรู้เทคนิคการผ่าตัดต่าง ๆ ก็จะเป็นประโยชน์กับคนไข้ที่ไม่ได้สนใจในเรื่องความสวยความงามอย่างเดียว แต่หมายถึงคนไข้ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ด้วย ซึ่งคนไข้บางรายถ้าผ่าตัดไม่ดีอาจมีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการผ่าตัดลักษณะนี้จะมีเลือดออกค่อนข้างมาก ถ้าดูแลไม่ดี เลือดจะเซาะเข้าไปด้านหลังตา ไปกดขั้วประสาทตา ทำให้ตามองไม่เห็นได้ โดยการประชุมวิชาการครั้งนี้จะมีการแลกเปลี่ยนเทคนิคต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะทำให้ผลการผ่าตัดออกมาดียิ่งขึ้น”

นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา และประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณา กล่าวว่า แพทยสภามีหน้าที่ดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ ออกข้อกำหนดและประกาศมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย การโฆษณาและส่งเสริมให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณาให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อคุ้มครองประชาชน ที่ผ่านมา แพทยสภาเอาจริงเรื่องปัญหาจากการฉีดสารซิลิโคนเหลวเพื่อการเสริมสวยบนใบหน้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปแล้ว โดยให้มีการประกาศยกเลิกการฉีดสารซิลิโคนเหลวเพื่อการเสริมสวยบนใบหน้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างเด็ดขาด และแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับทราบเพื่อปฏิบัติตาม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และเป็นการสร้างมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ไม่เพียงเท่านั้น ในปัจจุบันกระแสของการศัลยกรรมความงามสไตล์เกาหลีเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดมีการเปิดบริษัทจัดพาแพทย์ไทยรุ่นใหม่ไปเข้าคอร์สเปิดสอนทำศัลยกรรมความงามโดยวิธีลัดเพียง 1-2 สัปดาห์ และได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งหลักสูตรนั้น ๆ แพทยสภายังไม่ได้รับรองแต่อย่างใด เพราะยังขาดหลักวิชาการ และไม่มีสถาบันทางวิชาการรับรองหลักสูตร จึงขอเตือนแพทย์รุ่นใหม่ว่า อย่าหลงเชื่อตามกระแส เพราะนอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังอาจเกิดผลเสียต่อผู้บริโภคคนไทย และเสียหายต่อวงการศัลยกรรมในประเทศไทยที่กำลังขยายตัวเป็นอย่างยิ่ง

“ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงามกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อเปิด AEC ในปี พ.ศ. 2558 เชื่อว่าจะช่วยทำให้ตลาดธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงามขยายตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากขณะนี้คนไข้ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ โดยประเทศไทยมีคนไข้ชาวต่างชาติต่อปีประมาณ 1.4 ล้านคน ส่วนสิงคโปร์มีประมาณ 600,000 คน ซึ่งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเอื้อให้ประเทศไทยมีตลาดที่ใหญ่ขึ้นในอาเซียน ด้วยการเดินทางที่สะดวกขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากประเทศอินโดนีเซียที่ปัจจุบันมักใช้บริการอยู่ในมาเลเซียและสิงคโปร์”

จากข้อมูลของสมาคมเสริมความงามนานาชาติระบุว่า ปริมาณการทำศัลยกรรมทั้งประเภทที่ต้องผ่าตัดและไม่ผ่าตัดนั้น ในกลุ่มภูมิภาคเอเชียพบว่า จีนมีสัดส่วนการทำศัลยกรรมสูงสุด ตามด้วยญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน โดยประเทศไทยเป็นชาติเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดผลการจัดอันดับครั้งนี้ และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2557 จะขยายตัวต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยหนุนจากการทำศัลยกรรมในเอเชียที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยจุดแข็งของบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้านการทำศัลยกรรมตกแต่ง ประกอบกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและบริการที่ยอดเยี่ยมของประเทศไทย ทำให้ผู้ที่เดินทางมารักษาตัวที่ประเทศไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวในราคาที่สมเหตุสมผล สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศไทย ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องตระหนักถึงความสำคัญและวางนโยบายเร่งด่วนเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจศัลยกรรมความงามที่มีช่องทางเติบโตสูง ด้วยการสนับสนุนธุรกิจสุขภาพและความงามในรูปแบบของทัวร์ศัลยกรรมทั้งระบบ และร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลาง Surgical Hub of Asia

นอกจากนี้แพทยสภาได้ส่งเสริมให้ราชวิทยาลัยและสมาคมทางด้านศัลยกรรมเพื่อความสวยงามต่าง ๆ จัดการประชุมวิชาการและส่งเสริมการเปิดการเรียนหลักสูตรเกี่ยวกับการเสริมสวยทุกรูปแบบ เป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่มาขอรับบริการ รวมทั้งได้มีแนวทางในการจัดทำร่างประกาศแพทยสภาในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมของแพทย์ในด้านการฉีดฟิลเลอร์ เลเซอร์ ซึ่งต้องทำเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งต้องผ่านการอบรมจากแพทยสภา เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและต้องไม่เป็นการกีดกันแพทย์ทุกสาขาวิชาชีพด้วย

นพ.ชลธิศ กล่าวสรุปว่า แม้ไทยจะก้าวเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับเอเชีย แต่พบว่ายังขาดองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จะช่วยบอกให้โลกรู้ว่าไทยเป็นที่หนึ่งในเรื่องเหล่านี้ นั่นคือ การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ และการตลาด ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากให้งานทางด้านวิชาการเผยแพร่ออกไปทั่วโลกได้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยขายฝีมืออย่างเดียว หมายความว่าผู้ที่มารับบริการจากทั่วโลกทราบจากผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก แต่ประเทศไทยไม่เคยบอกให้โลกรู้เลยว่าเรานั้นเป็นผู้นำ เนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชนไม่มีการพูดคุยในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้น การเปิด AEC ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ทางฝ่ายวิชาการมีความพร้อมอย่างเต็มที่ แต่ในการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ และการตลาด จะต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยให้ทางด้านวิชาการของไทยเป็นที่รับทราบทั่วโลก

“ผมใช้คำว่าทั่วโลก เพราะทั่วโลกมาใช้บริการที่ประเทศไทยจริง ๆ เพราะผลงานของแพทย์ไทยติดอันดับโลก ผมกล้าพูดเพราะว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Surgical Hub of Asia โดยธรรมชาติ ไม่ใช่บางประเทศใช้ดารา ใช้นักร้อง ใช้สื่อ ใช้ระบบตอบแทน ระบบทัวร์ ในขณะที่ฝีมือยังไม่ถึง แต่ว่าเราต้องยอมรับว่าเขามีความสามารถในการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การตลาด เรียกได้ว่าครบเครื่อง มีระบบทัวร์ไปลง มีเอเจนซี่ มีการให้ผลประโยชน์ทุกภาคส่วน กลายเป็นมิติใหม่ของวงการแพทย์ซึ่งเราไม่ควรจะจำกัดตัวเราอยู่เฉพาะแค่วิชาการ แม้ว่าทางการแพทย์ต้องเป็นนักวิชาการ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยการบริหารจัดการเข้ามาช่วยสนับสนุนแพทย์ อันนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกว่า AEC จะต้องเปิดโดยที่ไม่ใช่แพทย์เป็นคนเปิด แต่ต้องเป็นฝ่ายบริหารจัดการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาดของประเทศ รวมทั้งการท่องเที่ยวเข้ามาช่วยด้วย”

pendik escort pursaklar escort keçiören escort aksaray escort amasya escort artvin escort