ระดับ Glycated Hemoglobin และการพยากรณ์ CVD
JAMA. 2014;311(12):1225-1233.
บทความเรื่อง Glycated Hemoglobin Measurement and Prediction of Cardiovascular Disease มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการประเมินค่า HbA1c ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงต่อ CVD สามารถปรับปรุงการพยากรณ์ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ได้หรือไม่ โดยศึกษาจากงานวิจัยแบบ prospective study รวม 73 การศึกษา รวมผู้เข้าร่วมวิจัย 294,998 ราย ซึ่งไม่มีประวัติโรคเบาหวาน หรือ CVD ที่พื้นฐาน
ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ มาตรวัด risk discrimination สำหรับผลลัพธ์ CVD (เช่น C-index) และ reclassification (เช่น net reclassification improvement) ของผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มที่พยากรณ์ความเสี่ยง 10 ปีระดับต่ำ (< 5%), ปานกลาง (5% ถึง < 7.5%) และสูง (> 7.5%)
ระหว่างมัธยฐานการติดตาม 9.9 ปี (interquartile range 7.6-13.2) พบการเกิด CVD ที่ถึงแก่ชีวิตและไม่ถึงแก่ชีวิต 20,840 ราย (โรคหลอดเลือดหัวใจ 13,237 ราย และสโตรค 7,603 ราย) จากการวิเคราะห์ซึ่งปรับตามปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทราบกันดีพบความสัมพันธ์แบบ J-shaped association ระหว่างค่า HbA1c และความเสี่ยง CVD ความสัมพันธ์ระหว่างค่า HbA1c และความเสี่ยง CVD เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหลังปรับตามคอเลสเตอรอลโดยรวมและไตรกลีเซอไรด์ หรืออัตรา estimated glomerular filtration rate แต่ความสัมพันธ์นี้อ่อนลงหลังปรับตามระดับ high-density lipoprotein cholesterol และ C-reactive protein ค่า C-index ของตัวแบบพยากรณ์ความเสี่ยง CVD ซึ่งประเมินเฉพาะปัจจัยเสี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 0.7434 (95% CI 0.7350-0.7517) และการเพิ่มข้อมูล HbA1c สัมพันธ์กับค่า C-index ที่เปลี่ยนแปลงเท่ากับ 0.0018 (0.0003-0.0033) และ net reclassification improvement เท่ากับ 0.42 (-0.63 ถึง 1.48) ในแต่ละกลุ่มความเสี่ยง ซึ่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการประเมินค่า HbA1c ในการพยากรณ์ความเสี่ยง CVD นี้เทียบเท่าหรือดีกว่าการวัดระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร สุ่มวัดระดับน้ำตาล และวัดหลังกินน้ำตาล
ข้อมูลจากการศึกษาในผู้ที่ไม่มีประวัติ CVD หรือเบาหวานพบว่า การประเมินค่า HbA1c ร่วมกับความเสี่ยง CVD มีประโยชน์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยต่อการพยากรณ์ความเสี่ยง CVD