ความเสี่ยงทางพันธุกรรมจากการรับประทานของทอด
BMJ 2014;348:g1610.
บทความเรื่อง Fried Food Consumption, Genetic Risk, and Body Mass Index: Gene-Diet Interaction Analysis in Three US Cohort Studies ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงทางพันธุกรรมและการรับประทานของทอดตามดัชนีมวลกาย (BMI) และโรคอ้วน นักวิจัยศึกษาจากผู้หญิง 9,623 รายในการศึกษา 9,623 Nurses’ Health Study ผู้ชาย 6,379 รายในการศึกษา Health Professionals Follow-up Study และผู้หญิง 21,421 รายในการศึกษา Women’s Genome Health Study โดยให้การวัด BMI ระหว่างการติดตามเป็นมาตรวัดผลลัพธ์หลัก
ข้อมูลจากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานของทอดและคะแนนความเสี่ยงทางพันธุกรรมตาม BMI ในทั้งการศึกษา Nurses’ Health Study และ Health Professionals Follow-up Study (p < 0.001 for interaction) ในผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีคะแนนความเสี่ยงทางพันธุกรรมในกลุ่ม highest third พบว่า ความแตกต่างของ BMI ระหว่างผู้ที่รับประทานของทอดสัปดาห์ละ 4 ครั้งหรือมากกว่า และผู้ที่รับประทานของทอดน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่ากับ 1.0 (SE 0.2) ในผู้หญิง และ 0.7 (SE 0.2) ในผู้ชาย ขณะที่ความแตกต่างเท่ากับ 0.5 (SE 0.2) และ 0.4 (SE 0.2) ในกลุ่ม lowest third ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและอาหารยังพบในการศึกษา Women’s Genome Health Study (p < 0.001 for interaction) และความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นตามการรับประทานของทอดที่มากขึ้น จากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 3 กลุ่มพบว่า ความแตกต่างใน BMI ต่อ 10 risk alleles เท่ากับ 1.1 (SE 0.2), 1.6 (SE 0.3) และ 2.2 (SE 0.6) สำหรับการรับประทานของทอดน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง, สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง และสัปดาห์ละ 4 ครั้งหรือมากกว่า (p < 0.001 for interaction) โดยค่า odds ratios (95% confidence intervals) สำหรับโรคอ้วนต่อ 10 risk alleles เท่ากับ 1.61 (1.40-1.87), 2.12 (1.73-2.59) และ 2.72 (2.12-3.48) ตามระดับการรับประทานทั้ง 3 ระดับ (p = 0.002 for interaction) นอกจากนี้ความแปรปรวนในหรือใกล้ยีนที่มีการแสดงออกมาหรือมีผลในระบบประสาทส่วนกลางก็มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญกับการรับประทานของทอด โดยเห็นผลชัดที่สุดในยีน FTO (p < 0.001 for interaction)
ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า การรับประทานของทอดอาจสัมพันธ์กับพันธุกรรมโรคอ้วน และชี้ให้เห็นความสำคัญของการลดรับประทานของทอดในผู้ที่มีความเสี่ยงพันธุกรรมต่อโรคอ้วน