ผลลัพธ์ตรวจเต้านมตามความถี่ความหนาแน่นเต้านมและยาฮอร์โมนบำบัด

ผลลัพธ์ตรวจเต้านมตามความถี่ความหนาแน่นเต้านมและยาฮอร์โมนบำบัด JAMA Intern Med. 2013;173(9):807-816.

            บทความเรื่อง Outcomes of Screening Mammography by Frequency, Breast Density, and Postmenopausal Hormone Therapy รายงานว่า ข้อมูลปัจจุบันยังคงขัดแย้งกันด้านความถี่ในการตรวจแมมโมแกรม รวมถึงระยะห่างระหว่างการตรวจโดยพิจารณาตามปัจจัยเสี่ยงตัวอื่นนอกเหนือจากอายุ     

นักวิจัยได้เปรียบเทียบประโยชน์และผลเสียของการกำหนดความถี่การตรวจแมมโมแกรมตามอายุ ความหนาแน่นของเต้านม และการใช้ยาฮอร์โมนบำบัดในวัยทอง โดยการศึกษาเป็นแบบ prospective cohort ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2008 และเก็บข้อมูลจากศูนย์ตรวจแมมโมแกรมที่สังกัดในทะเบียน Breast Cancer Surveillance Consortium (BCSC)

            นักวิจัยเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าจากผู้หญิง 11,474 รายซึ่งเป็นมะเร็งเต้านม และ 922,624 รายซึ่งไม่เป็นมะเร็งเต้านมและได้ตรวจแมมโมแกรมจากศูนย์ที่สังกัดในทะเบียน BCSC โดยใช้ logistic regression คำนวณค่า odds ของมะเร็งระยะเป็นมาก (IIb, III หรือ IV) และมีก้อนขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลาง > 20 มิลลิเมตร) และความน่าจะเป็นสะสมที่ 10 ปีของแมมโมแกรมที่ได้ผลบวกหลอกจากความถี่การตรวจคัดกรอง อายุ ความหนาแน่นของเต้านม และการใช้ยาฮอร์โมนบำบัด และตัวพยากรณ์หลัก ได้แก่ ระยะห่างระหว่างการตรวจแมมโมแกรม   

            การตรวจแมมโมแกรมปีละสองครั้งเทียบกับปีละครั้งสำหรับผู้หญิงอายุ 50-74 ปี ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงก้อนในระยะเป็นมากหรือมีขนาดใหญ่แม้ความหนาแน่นของเต้านมสูงมากหรือใช้ฮอร์โมนบำบัด สำหรับผู้หญิงอายุ 40-49 ปี ซึ่งเต้านมหนาแน่นมากพบว่า การตรวจแมมโมแกรมปีละสองครั้งเทียบกับปีละครั้งสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อมะเร็งระยะเป็นมาก (odds ratio [OR], 1.89; 95% CI, 1.06-3.39) และก้อนใหญ่ (OR, 2.39; 95% CI, 1.37-4.18) ความน่าจะเป็นสะสมของแมมโมแกรมที่ได้ผลบวกหลอกอยู่ในระดับสูงในกลุ่มที่ตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง ซึ่งมีความหนาแน่นเต้านมสูงและอายุระหว่าง 40-49 ปี (65.5%) หรือใช้ estrogen ร่วมกับ progestogen (65.8%) และต่ำกว่าในผู้หญิงอายุ 50-74 ปี ซึ่งตรวจแมมโมแกรมปีละสองครั้งหรือสามครั้ง และมี scattered fibroglandular densities (30.7% และ 21.9%) หรือ fatty breasts (17.4% และ 12.1%)

            ผู้หญิงอายุ 50-74 ปีทั้งกลุ่มที่มีความหนาแน่นของเต้านมสูงหรือใช้ยาฮอร์โมนบำบัด ซึ่งได้ตรวจแมมโมแกรมปีละสองครั้งมีความเสี่ยงต่อมะเร็งในระยะเป็นมากใกล้เคียงกับผู้ที่ตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง ขณะที่มีความเสี่ยงสะสมต่อผลบวกหลอกต่ำกว่า ในการพิจารณาว่าควรตรวจแมมโมแกรมหรือไม่นั้น จึงควรแจ้งให้ผู้หญิงอายุ 40-49 ปี ซึ่งมีความหนาแน่นเต้านมสูงทราบว่าการตรวจแมมโมแกรมปีละครั้งอาจลดความเสี่ยงต่อมะเร็งระยะเป็นมาก แต่มีความเสี่ยงสะสมต่อผลบวกหลอกที่สูง