เทียบเป้าความดันเลือดในผู้ป่วย Septic Shock
N Engl J Med 2014;370:1583-1593.
บทความเรื่อง High versus Low Blood-Pressure Target in Patients with Septic Shock รายงานว่า แผน Surviving Sepsis Campaign แนะนำให้กำหนดเป้าความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่อย่างน้อย 65 mmHg ระหว่างการแก้ไขภาวะวิกฤติเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลว่าเป้าความดันเลือดดังกล่าวทำให้ได้ผลลัพธ์ดีกว่าหรือน้อยกว่าเป้าความดันเลือดที่สูงขึ้น
นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วย septic shock 776 รายได้รับการแก้ไขภาวะวิกฤติด้วยเป้าความดันเลือดแดงเฉลี่ย 80-85 mmHg (กลุ่ม high-target group) หรือ 65-70 mmHg (กลุ่ม low-target group) โดยจุดยุติหลัก ได้แก่ การตายที่ 28 วัน
ที่ 28 วันไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญด้านอัตราตาย โดยพบผู้ป่วยเสียชีวิต 142 รายจาก 388 รายในกลุ่ม high-target group (36.6%) และ 132 รายจาก 388 รายในกลุ่ม low-target group (34.0%) (hazard ratio ในกลุ่ม high-target group 1.07; 95% CI 0.84-1.38; p = 0.57) และไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญด้านอัตราตายที่ 90 วันจากจำนวนผู้เสียชีวิต 170 ราย (43.8%) และ 164 ราย (42.3%) (hazard ratio 1.04; 95% CI 0.83-1.30; p = 0.74) การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม (74 events [19.1%] และ 69 events [17.8%], respectively; p = 0.64) อย่างไรก็ดี อุบัติการณ์ของ atrial fibrillation ที่ตรวจพบใหม่มีระดับสูงกว่าในกลุ่ม high-target group เทียบกับ low-target group และจากผู้ป่วยที่เป็นความดันเลือดสูงเรื้อรังพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่ม high-target group มีอัตราการเปลี่ยนไตต่ำกว่ากลุ่ม low-target group และการเปลี่ยนไตไม่สัมพันธ์กับความแตกต่างด้านอัตราตาย
เป้าความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่ 80-85 mmHg ไม่เป็นผลให้เกิดความแตกต่างที่มีนัยสำคัญด้านอัตราตายทั้งที่ 28 วัน หรือ 90 วัน เทียบกับ 65-70 mmHg ในผู้ป่วย septic shock ที่ได้รับการแก้ไขภาวะวิกฤติ