ความเสี่ยงมะเร็งจากการตรวจ CT ในเด็กหรือวัยรุ่น

ความเสี่ยงมะเร็งจากการตรวจ CT ในเด็กหรือวัยรุ่น 
BMJ 2013;346:f2360

Deneme bonusu Casibom giriş

บทความวิจัยเรื่อง Cancer Risk in 680,000 People Exposed to Computed Tomography Scans in Childhood or Adolescence: Data Linkage Study of 11 Million Australians รายงานผลจากการศึกษาแบบ population based, cohort, data linkage study ในออสเตรเลียเพื่อประเมินความเสี่ยงมะเร็งในเด็กและวัยรุ่นหลังได้รับรังสีชนิดก่อไอออนในปริมาณต่ำจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

นักวิจัยศึกษาจากข้อมูลผู้เข้ารับบริการในประวัติ Australian Medicare จำนวน 10.9 ล้านคน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 0-19 ปี ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1985 หรือเกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1985 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2005 และได้ระบุผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดซึ่งได้รับการตรวจ CT โดย Medicare ระหว่างปี ค.ศ. 1985-2005 นักวิจัยรวบรวมข้อมูลการตรวจพบมะเร็งในกลุ่มผู้รับการตรวจจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม โดยเทียบจากทะเบียนผู้ป่วยมะเร็งของออสเตรเลีย

มีประวัติมะเร็ง 60,674 ราย รวมถึง 3,150 รายจาก 680,211 รายในกลุ่มที่ตรวจ CT มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนตรวจพบมะเร็ง มัธยฐานระยะการติดตามหลังตรวจ CT เท่ากับ 9.5 ปี อุบัติการณ์รวมของมะเร็งในกลุ่มที่ตรวจสูงกว่า 24% เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจหลังปรับตามอายุ เพศ และปีเกิด (incidence rate ratio (IRR) 1.24 (95% confidence interval 1.20-1.29); p < 0.001) นักวิจัยพบความสัมพันธ์แบบ dose-response relation โดย IRR เพิ่มขึ้น 0.16 (0.13-0.19) ต่อการตรวจ CT ที่เพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง และ IRR สูงขึ้นจากการตรวจเมื่ออายุน้อย (p < 0.001 สำหรับแนวโน้ม) ที่ 1-4, 5-9, 10-14 และ 15 ปีหลังตรวจครั้งแรกพบว่า IRR เท่ากับ 1.35 (1.25-1.45), 1.25 (1.17-1.34), 1.14 (1.06-1.22) และ 1.24 (1.14-1.34) ค่า IRR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับมะเร็งชนิดก้อน (ระบบย่อยอาหาร ผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน อวัยวะเพศหญิง ทางเดินปัสสาวะ สมอง และไทรอยด์) รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาว, myelodysplasia และ lymphoid บางกลุ่ม นักวิจัยพบมะเร็งมากกว่า 608 รายในกลุ่มที่ตรวจ CT (สมอง 147 ราย, มะเร็งก้อนชนิดอื่น 356 ราย, มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ myelodysplasia 48 ราย และมะเร็ง 57 ราย)  ทั้งนี้ absolute excess incidence rate สำหรับมะเร็งทั้งหมดรวมกันเท่ากับ 9.38 ต่อ 100,000 person years at risk ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2007 และค่าเฉลี่ยของปริมาณรังสีที่ให้ผลอยู่ที่ 4.5 mSv

อุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งภายหลังตรวจ CT ในกลุ่มประชากรนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการอาบรังสี และจากการที่ยังคงพบมะเร็งหลังสิ้นสุดการติดตามจึงทำให้ยังไม่สามารถระบุความเสี่ยงตลอดชีวิตจากการตรวจ CT ได้ ขนาดรังสีจากเครื่อง CT ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าเครื่องที่ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1985-2005 แต่การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงมะเร็งก็ยังอาจเป็นผลจากเครื่องสแกนที่ใช้ในปัจจุบันเช่นกัน การตรวจ CT ในอนาคตจึงควรจำกัดเฉพาะในสถานการณ์ที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิกชัดเจน และควรปรับปริมาณรังสีในการตรวจแต่ละครั้งให้ต่ำที่สุดเท่าที่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัย