การรอดชีวิตด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ CRT ในหัวใจล้มเหลวไม่รุนแรง

การรอดชีวิตด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ CRT ในหัวใจล้มเหลวไม่รุนแรง

N Engl J Med 2014;370:1694-1701.

บทความเรื่อง Survival with Cardiac-Resynchronization Therapy in Mild Heart Failure อ้างถึงข้อมูลจากการศึกษา Multicenter Automatic Defibrillator Implantation Trial with Cardiac Resynchronization Therapy (MADIT-CRT) ชี้ว่า การรักษาการเต้นของหัวใจโดยเร็วด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ (CRT-D) ในผู้ป่วยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจชี้ว่ามี left bundle-branch block สัมพันธ์กับการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของหัวใจล้มเหลวระหว่างมัธยฐานการติดตาม 2.4 ปี เทียบกับการรักษาด้วย defibrillator อย่างเดียว

นักวิจัยประเมินผลของ CRT-D ต่อการรอดชีวิตระยะยาวในผู้ป่วยจากการศึกษา MADIT-CRT การติดตามหลังการศึกษาโดยมีมัธยฐาน 5.6 ปีได้ประเมินในผู้ป่วยที่รอดชีวิตทั้ง 1,691 ราย (phase 1) และต่อมาใน 854 รายซึ่งเข้าร่วมในการทำทะเบียนหลังการศึกษา (phase 2) โดยวิเคราะห์แบบ intention-to-treat

การติดตามที่ 7 ปีหลังเข้าร่วมการศึกษาพบว่า อัตราสะสมของการตายจากทุกสาเหตุในผู้ป่วยที่มีภาวะ left bundle-branch block เท่ากับ 18% ในผู้ป่วยที่สุ่มให้รักษาด้วย CRT-D เทียบกับ 29% ในผู้ป่วยที่รักษาด้วย defibrillator อย่างเดียว (adjusted hazard ratio ในกลุ่ม CRT-D 0.59; 95% CI 0.43-0.80; p < 0.001) ประโยชน์ด้านการรอดชีวิตระยะยาวของ CRT-D ในผู้ป่วย left bundle-branch block ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตามเพศ สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ หรือระยะ QRS อย่างไรก็ดี CRT-D ไม่สัมพันธ์กับประโยชน์ทางคลินิกอื่นใดและอาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะ left bundle-branch block (adjusted hazard ratio สำหรับการตายจากทุกสาเหตุ 1.57; 95% CI 1.03-2.39; p = 0.04; p < 0.001 สำหรับปฏิกิริยาระหว่างการรักษากับ QRS morphology)

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า การรักษาโดยเร็วด้วย CRT-D ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว left ventricular dysfunction และ left bundle-branch block ที่ไม่รุนแรงสัมพันธ์กับประโยชน์ที่มีนัยสำคัญด้านการรอดชีวิตระยะยาว