การใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดรวดเร็ว (Rapid Sequence Intubation)
ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
สำหรับการใส่ท่อทางเดินหายใจในห้องฉุกเฉินนั้น ยอมรับว่าการใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดรวดเร็ว (rapid sequence intubation) เป็นมาตรฐานกันไปทั่วโลกแล้ว ทั้งนี้เพราะการใส่ท่อแบบนี้จะลดการเกิดสูดสำลักเศษอาหารเข้าปอดได้
หลักการใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดรวดเร็วคือ การให้ยานอนหลับร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดแรงต้านก่อนการใส่ท่อ วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้ในห้องฉุกเฉินเพราะผู้ป่วยที่มายังห้องฉุกเฉินมักจะไม่ได้อดอาหารและน้ำมาก่อน จึงมีโอกาสเกิดสูดสำลักเศษอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหารเข้าปอดได้ง่าย
การใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดรวดเร็ว (Rapid Sequence Intubation)
ก่อนทำการใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดรวดเร็ว (rapid sequence intubation) นี้ต้องให้ผู้ป่วยดมออกซิเจนทางหน้ากากในอัตราไหลของแก๊ส 10 ลิตร/นาที นานอย่างน้อย 3นาที จนกระทั่งปริมาณ O2 Saturation > 90% ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทนต่อการหยุดหายใจชั่วขณะนาน 8 นาทีระหว่างทำการใส่ท่อได้ การเพิ่มออกซิเจนแก่ผู้ป่วยก่อนเริ่มใส่ท่อนั้น แพทย์ไม่ควรบีบ bag-mask device เพื่อช่วยหายใจให้แก่ผู้ป่วย ทั้งนี้เพราะจะทำให้มีลมเข้าไปในกระเพาะอาหารมากขึ้นจนเกิดการสูดสำลักเศษอาหารเข้าปอดได้ง่าย
ข้อบ่งชี้ประเมินว่าไม่มีภาวะใส่ท่อได้ยากตามกฎ LEMON
L - Look externally
E - Evaluate the “3-3-2 rule” (ดังภาพที่ 1)
M - Mallampati score (ดังภาพที่ 2)
O - Obstruction
N - Neck mobility