โรงพยาบาลกาบเชิง จ.สุรินทร์ ก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทยที่ดีที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2559

วงการยา ฉบับ 193 /ผึ้ง

คอลัมน์สมุนไพร-แพทย์ทางเลือก /ขาวดำ 2 หน้า

ชื่อ herb-193

โรงพยาบาลกาบเชิง จ.สุรินทร์ ก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทยที่ดีที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.. 2559

 ประเทศไทยได้ประกาศใช้นโยบายแห่งชาติด้านยาฉบับแรกในปี พ.. 2524 โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศ และการพัฒนายาสมุนไพรและยาแผนโบราณ การส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จนกระทั่งประเทศไทยได้กำหนดนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.. 2554-2559 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประชาชนเข้าถึงยาถ้วนหน้า ใช้ยามีเหตุผล ประเทศพึ่งตนเอง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน เป็นไปอย่างสมเหตุผล ถูกต้องและคุ้มค่า เนื่องจากขณะนี้ประชาชนไทยยังมีปัญหาด้านสุขภาพมาก และมีการใช้ยาเกินความจำเป็น ประกอบกับการส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนโบราณของโรงพยาบาลรัฐบาลยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ อีกทั้งปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จส่วนหนึ่งคือ ความไม่เชื่อมั่น และการไม่เข้าใจในกระบวนการรักษา

ด้วยวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ “เป็นโรงพยาบาลชุมชนคุณภาพชั้นนำของจังหวัดสุรินทร์ และเป็นโรงพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทยที่ดีที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.. 2559” ทำให้โรงพยาบาลกาบเชิง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ตั้งอยู่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาที่เดินทางมาใช้บริการวันละไม่ต่ำกว่า 20-30 คน จุดเด่นของโรงพยาบาลอยู่ที่การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชนควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบัน

คุณไพวัลย์ โคศรีสุทธิ์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลกาบเชิง กล่าวว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลกาบเชิงได้พัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลในการเป็นโรงพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทยที่ดีที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากตัวชี้วัดจะพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และ/หรือการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขคิดเป็นร้อยละ 74.92 อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลไม่ได้มุ่งเน้นในการให้บริการเชิงเดี่ยว โดยใช้แพทย์แผนไทยอย่างเดียวหรือแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น แต่เน้นการบูรณาการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายคือ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด และหายจากโรคที่เป็นอยู่

“หากมองถึงมูลค่าการใช้ยาแผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลชุมชน) คิดเป็นร้อยละ 11.7 จะเห็นว่ามีความแตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับบริการ เพราะสมุนไพรนั้นมีราคาถูก ตัวอย่างเช่น ขมิ้นชัน ปัจจุบันกระป๋องละ 37 บาท ส่วนยาสมุนไพรตัวอื่น ๆ ราคาไม่เกินกระป๋องละ 50 บาท นั่นเป็นเพราะเราไม่อยากให้รู้สึกว่ายาสมุนไพรทำไมต้องมีราคาแพง ทำไมต้องทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึง เมื่อเราอยากให้คนทั่วไปได้ใช้ยา ยาก็ต้องมีราคาไม่แพง”

สำหรับงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลกาบเชิงมีทั้งหมด 7 งานคือ งานบริการ งานเภสัชกรรมไทย งานวิชาการและเครือข่ายวิชาชีพ งานคุณภาพ งานส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพและชุมชนเข้มแข็ง และงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

โดยหนึ่งในงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลกาบเชิงคือ งานเภสัชกรรมไทย ซึ่งจะเป็นในส่วนของการผลิตยาสมุนไพร ตั้งแต่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร ที่โรงพยาบาลจะมีกลุ่มปลูกสมุนไพร มีสมาชิกอยู่ 97 คน สมุนไพรที่ปลูกมีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

รายการยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกาบเชิงมีทั้งสิ้น 45 รายการ 7 รูปแบบ คือ ยาผง ชาชง ยาน้ำรับประทาน ยาลูกกลอน ยาแคปซูล ยาต้ม ยาใช้ภายนอก ใน 45 รายการจะมี 27 รายการที่เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และ 18 รายการเป็นยาเภสัชตำรับโรงพยาบาล และในปัจจุบันยังได้มีการรณรงค์ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน 29 รายการทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์

“เราจะมีคู่มือการใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน โดยในคู่มือจะมีตัวเลือก ข้อดี ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าทำไมจะต้องเลือกใช้สมุนไพรตัวนี้ เช่น อาการไข้ ยาแผนปัจจุบันจะใช้ยาพาราเซตามอล แต่ถ้าเป็นยาสมุนไพรจะใช้ห้าราก ฟ้าทะลายโจร จันทน์ลีลา เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการอบรมบุคลากรทางการแพทย์เป็นประจำทุกปี เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้จะต้องลงพื้นที่ไปอยู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรืออยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ โดยในการอบรม ทางจังหวัดสุรินทร์จะเป็นผู้จัดอบรม 1 ครั้ง และทางโรงพยาบาลกาบเชิงเป็นผู้จัดอีก 1 ครั้ง”

ยาสมุนไพรที่ใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน

โรค/อาการ

ยาแผนปัจจุบัน

ยาสมุนไพรที่สามารถใช้แทนได้

ข้อดี

ไข้

Paracetamol

ยาห้าราก

ยาฟ้าทะลายโจร

จันทน์ลีลา

ไม่เป็นพิษต่อตับ

กล้ามเนื้อตึง

กล้ามเนื้ออักเสบ/

ปวดเมื่อย/เคล็ด

Orphenadrine, Diazepam 2 mg

NSAIDs, Paracetamol

ยาคลายเส้น

โคคลาน, ยาสหัสธารา

ไม่ง่วงนอน

ไม่กัดกระเพาะอาหาร

ไม่เป็นพิษต่อตับ

เบื่ออาหาร

Vitamin,

Cyproheptadine

ยาบำรุงธาตุ, ยาบำรุงโลหิต

ยาอายุวัฒนะ

ไม่ง่วงนอน

ช่วยปรับสมดุลร่างกาย

ทาแก้ปวดเมื่อย

แพ้อากาศ

Balm, NSAIDs Gel,

Loratadine, Pseudoephedrine

น้ำมันกาสลัก

ยาปราบชมพูทวีป

ไม่แสบร้อน แก้เส้นเลือดขอด

ไม่ง่วงนอน

ท้องอืด ท้องเฟ้อ

แน่นท้อง จุกเสียด

Simethicone, Sodium [bicarbonate], M.carminative

ขมิ้นชัน, ยาธาตุบรรจบ

ยาธาตุเปลือกอบเชย

ไม่มีผลต่อระบบสมดุลเกลือแร่

ไม่มีแอลกอฮอล์ ช่วยเจริญอาหาร

 

โรค/อาการ

ยาสมุนไพร

มูลค่า/ครั้ง

ยาแผนปัจจุบัน

มูลค่า/ครั้ง

ประหยัด

ริดสีดวงทวาร

ยาริดสีดวงทวาร

75 บาท

Diosmin

240 บาท

165 บาท

การอักเสบของ

กล้ามเนื้อและข้อ

(Inflammation)

ยาต้มโคคลาน

60 บาท

 

Celecoxib

 

1,080 บาท

990 บาท

ยาสหัสธารา

75 บาท

975 บาท

ลูกประคบสมุนไพร

180 บาท

970 บาท

เริมที่ช่องปาก

เสลดพังพอนกลีเซอรีน

15 บาท

Acyclovir

35 บาท

 

ไอ เจ็บคอ

ยาอมอายุรเวท

15 บาท

Antiseptic Lozenges

 

20 บาท

5 บาท

ยาแก้ไอมองคร่อ

20 บาท

-

 

คุณไพวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “หากมองมูลค่าความประหยัดระหว่างยาแผนปัจจุบันกับยาสมุนไพร ยกตัวอย่างเช่น ยาริดสีดวงทวารราคา 75 บาท ขณะที่ยาแผนปัจจุบันราคาประมาณ 240 บาท ประหยัดได้ประมาณ 165 บาท นอกจากนี้ยังมียากลุ่มคลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งประหยัดได้เกือบ 1,000 บาท ซึ่งหลังจากที่ได้นำเสนอข้อมูลแก่ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ท่านมีความเห็นสอดคล้องและให้พยายามลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในกลุ่มนี้ลง และใช้ยาสมุนไพรทดแทน แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันพบปัญหาคือ เมื่อใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้ผลิตไม่ทัน เนื่องจากวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ เพราะกลุ่มของเราผลิตไม่ทัน จึงจำเป็นที่จะต้องซื้อวัตถุดิบจากข้างนอก”

ในส่วนของกลุ่มงานรับบริการการแพทย์แผนไทย เช่น การให้บริการผู้ป่วยนอก ปัจจุบันพบว่ามีโรคที่ผู้ป่วยมารักษาหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ในการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงตระหนักคือ งานวิชาการที่สามารถจะนำมาอ้างอิง ซึ่งถ้าหากมองภาพรวมทั่วประเทศแล้วพบว่ายังมีจำนวนไม่เพียงพอ

“ด้วยภาระงานที่หนักมาก ทำให้ไม่มีคนมาทำงานด้านวิชาการ แต่แน่นอนว่าเราอยากมีงานวิชาการด้านแพทย์แผนไทย อยากให้มีความร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลในการทำงานวิชาการ ซึ่งถ้ามีการเรียนรู้และบูรณาการร่วมกันทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติจะทำให้การแพทย์แผนไทยพัฒนาไปได้ก้าวไกลยิ่งขึ้น” คุณไพวัลย์ กล่าวทิ้งท้าย