เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 “ทิศทางของวิชาชีพเภสัชกรรมภายใต้ 2 พ.ร.บ.”

เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 ทิศทางของวิชาชีพเภสัชกรรมภายใต้ 2 ...”

เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.. 2557 ชู Theme “ทิศทางของวิชาชีพเภสัชกรรมภายใต้ 2 ...” คือ พ...วิชาชีพเภสัชกรรม และ พ...ยา ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ พร้อมร่วมงานแสดงมุทิตาจิตรดน้ำขอพรเภสัชกรอาวุโส เนื่องในเทศกาลวันปีใหม่ไทย ในวันที่ 22 มีนาคม พ.. 2558 ณ ห้องกัญญลักษณ์บอลรูม ABC ชั้น 3 โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพฯ

ภก.ธีระ ฉกาจนโรดม อดีตนายกและกรรมการที่ปรึกษาเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2557 จะมีการพูดถึง 2 พ.ร.บ. คือ พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม และ พ.ร.บ.ยา ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ โดยจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีการจัดประชุมในประเด็นดังกล่าวหลายเวที สำหรับงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2557 ที่เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558 จะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำเสนอและนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขในลำดับต่อไป

สำหรับร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. … ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขณะนี้ เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.ฉบับเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเด็นที่มีการคัดค้านกันมากคือ การกำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตวิชาชีพเภสัชกรรม จากเดิมที่สอบรับใบประกอบวิชาชีพฯ เพียงครั้งเดียว สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต เปลี่ยนเป็นต้องต่ออายุใบประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี

ภก.ธีระ กล่าวต่อไปว่า พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นฉบับแรกและมีการใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องการกำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพฯ แต่เนื่องจากว่าวิชาชีพของเภสัชกรรมมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจึงควรจะต้องมีการอัพเดทความรู้อยู่โดยตลอด ซึ่งต้องยอมรับว่าเภสัชกรส่วนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้วจบเลย ไม่มีการศึกษาต่อเนื่อง และยังประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ เช่น เปิดร้านขายยา หรือทำงานในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งในทางวิชาชีพแล้วอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยหรือผู้บริโภคได้ ดังนั้น ในร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. … จึงมีการปรับแก้ในส่วนนี้ โดยเจตนาของผู้ที่เขียนร่าง พ.ร.บ.นี้ ต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ การอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ หรือการทำข้อสอบในวารสารยา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ และเก็บคะแนน CPE ซึ่งเป็นข้อเสนอหนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาเป็นตัวกำหนด เช่น เมื่อครบ 5 ปีต้องมี 100 เครดิต จึงจะได้รับการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพฯ ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ก็อาจจะมีการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ แต่เนื่องจากเภสัชกรส่วนใหญ่เกิดความไม่เข้าใจ คิดว่าจะต้องไปสอบใบประกอบวิชาชีพฯ ใหม่ และมองว่าควรจะใช้เกณฑ์นี้แก่ผู้ขออนุญาตรายใหม่เท่านั้น ซึ่งก็จะดูเหมือน 2 มาตรฐาน เพราะจะมีเภสัชกรกลุ่มหนึ่งต้องต่อใบประกอบวิชาชีพฯ ส่วนหนึ่งไม่ต้องต่อใบประกอบวิชาชีพฯ ทำให้ต้องมีการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจในส่วนนี้

“ส่วนตัวแล้วมีมุมมองต่อร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ว่า น่าจะยอมให้ไม่มีผลย้อนหลัง แต่เรื่องการศึกษาต่อเนื่องหรือการเก็บคะแนน CPE จะต้องมี ซึ่งถือว่ามีความสมเหตุสมผล และน่าจะเป็นคุณประโยชน์ต่อวิชาชีพมากกว่าเป็นโทษ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคือ ผู้ป่วยหรือผู้บริโภคจะต้องได้รับความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง ในฐานะที่ผมเคยนั่งเก้าอี้นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และปัจจุบันเป็นกรรมการสภาเภสัชกรรม จึงสนับสนุนสภาเภสัชกรรม เพราะการที่มีความรู้จะทำให้วิชาชีพเภสัชกรรมของเรามีความน่าเชื่อถือ ซึ่งตรงนี้คือสิ่งที่สำคัญ” ภก.ธีระ กล่าว

ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ พ.ศ. ... ของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่กำลังจะถูกนำเข้า สนช. แต่มีกระแสคัดค้าน เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่นี้จะส่งผลเสียต่อระบบยาทั้งประเทศ โดยที่ผ่านมาได้มีการยกร่างและแก้ไข พ.ร.บ.ยามาหลายครั้ง เพื่อทดแทน พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 สำหรับในครั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ มีการแบ่งประเภทยา ซึ่งพบว่ามีการแบ่งเป็น 1. ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา 2. ยาที่สามารถจ่ายได้โดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหลายสาขา เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และ 3. ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งต่างจาก พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ที่ยาต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น เช่น ยาควบคุมพิเศษคือ ยาที่เภสัชกรจ่ายได้ต่อเมื่อมีใบสั่งแพทย์ ยาอันตรายคือ ยาที่จ่ายได้ภายใต้การกำกับดูแลโดยเภสัชกรเท่านั้น ส่วนยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย จึงเป็นยาที่แพทย์ พยาบาล สามารถสั่งจ่ายได้เอง และยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป นอกจากนี้ในร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ พ.ศ. ... ยังมีอีกหลายประเด็นที่มีผลต่อสิทธิและหน้าที่ของการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ทั้งนี้ ภายในงานจึงจะมีการพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 2 พ.ร.บ. ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางของวิชาชีพเภสัชกรรม รวมถึงประเด็นแยกย่อยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประเด็น ซึ่งในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ ภก.รศ.(พิเศษ) กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ที่จะมาบรรยาย “พ...วิชาชีพเภสัชกรรม” โดยท่านเป็นผู้ที่สามารถจะให้ข้อมูลและชี้แจงในรายละเอียดของ พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตได้เป็นอย่างดี ส่วนการอภิปราย “ตกผลึก ร่าง พ...ยา” ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้พบกับ ภก..(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์, ภก.วินิต อัศวกิจสิรี, ภก.วิสุทธิ์ สุริยาภิวัฒน์, ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร และผู้ดำเนินการอภิปราย ภก.ดร.สุวิทย์ ธีรกุลชน ซึ่งวิทยากรทุกท่านล้วนแล้วแต่คร่ำหวอดอยู่ในวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถมองประเด็นได้หลากหลาย ครอบคลุม และยังสามารถวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

ภก.ธีระ กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับว่า ในหลาย ๆ เวทีที่มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับนี้ มองว่าเภสัชกรรุ่นใหม่ค่อนข้างจะตื่นตัว แต่สมาชิกของเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นเภสัชกรอาวุโสที่จบการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว บางท่านก็อาจจะเลิกราจากวิชาชีพ หรืออยู่ในช่วงปลายของวิชาชีพ เพราะฉะนั้นความตื่นตัวในการติดตาม ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมก็อาจจะน้อยลง ซึ่งถ้าเภสัชกรกลุ่มนี้ได้มาร่วมงานประชุมครั้งนี้ เชื่อว่าจะทำให้ได้อัพเดทข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เพราะสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ การสื่อสาร หากสื่อสารไม่ดีจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด แต่ถ้าสื่อสารแล้วเกิดความเข้าใจจะได้ส่งต่อไปถึงเภสัชกรรุ่นน้องได้อย่างถูกต้องต่อไป

ไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมงานแสดงมุทิตาจิตรดน้ำขอพรเภสัชกรอาวุโส ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป โดยคาดว่าจะมีเภสัชกรอาวุโสร่วมงานประมาณ 30 ท่าน เพื่อเป็นการแสดงถึงความรัก ความเมตตา และยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นของวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย

“ไม่อยากให้พลาดงานแสดงมุทิตาจิตรดน้ำขอพรเภสัชกรอาวุโส อาจารย์ที่เคยประสิทธิ์ประสาทวิชาทางเภสัชกรรมให้แก่เรา ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้มาแสดงความกตัญญูกตเวที เนื่องในเทศกาลวันปีใหม่ไทย โดยจะพยายามเชิญมาให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังจะได้รับข้อมูลเชิงลึกในส่วนของ พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม และ พ.ร.บ.ยา ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ ในอัตราค่าลงทะเบียนเพียง 500 บาท เพราะเราไม่ได้จัดเพื่อหวังผลกำไร โดยคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 200 คน” ภก.ธีระ กล่าว

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โทรศัพท์ 0-2712-1627-8 ต่อ 11 โทรสาร 0-2390-1987 E-mail: pharmathai2000@yahoo.com หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ทาง www.thaipharma.net