Alpha-lactalbumin สำคัญอย่างไร
การทำงานของระบบประสาทนั้น เมื่อสมองคิดว่าจะทำอะไร ก็จะมีคำสั่งออกมาจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้น ๆ แล้วคำสั่งนั้นก็ถูกส่งไปตามทางเดินของสัญญาณประสาท เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ต้องทำกิจกรรมนั้น ๆ ซึ่งการส่งสัญญาณประสาทนั้น บางส่วนก็มีการติดต่อกันจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง แต่บางจุดก็ไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรง เช่น ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท หรือจากปลายเส้นประสาทไปยังกล้ามเนื้อ ตรงจุดการเชื่อมต่อนี้เองที่ต้องอาศัยสารสื่อประสาทเพื่อการเชื่อมโยงสัญญาณประสาทระหว่างรอยต่อดังกล่าว เพื่อให้การเดินทางของสัญญาณประสาทดังกล่าวครบวงจร และเกิดการทำงานตามคำสั่งของสมองได้
ดังนั้น สารสื่อประสาท คือ สารเคมีที่สร้างจากปลายเซลล์ประสาทหรือตัวเซลล์ประสาท และหลั่งออกจากปลายประสาทเพื่อเป็นตัวนําสัญญาณประสาท (Neurotransmission) ผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า Synapse หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท เพื่อให้วงจรการทำงานของระบบประสาทเกิดความสมบูรณ์ และเกิดการทำงานขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ(1,2)
รูปที่ 1 การถ่ายทอดกระแสประสาท(3)
ในร่างกายเด็กไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทขึ้นเองได้ ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท หนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเรื่องดังกล่าวก็คือ สารอาหารที่ชื่อว่า Alpha-lactalbumin
ประโยชน์ของ Alpha-lactalbumin(4-7)
Alpha-lactalbumin(4) คือ สารอาหารที่พบมากในนมแม่ซึ่งเป็นสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองของเด็ก ทำให้สมองทำงานช่วยในเรื่องของความสามารถในการทำงานของสมอง พัฒนาการ การเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และไม่ทำให้ลูกรักเป็นโรคภูมิแพ้
ผลของการขาดสาร Alpha-lactalbumin
เมื่อขาดหรือได้รับ Alpha-lactalbumin ไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเติบโตช้าและมีพัฒนาการไม่สมวัย พร้อมยังส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของสมองลดลงอีกด้วย และสำหรับเด็กนั้นต้องการสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาทมากกว่าผู้ใหญ่ถึงกว่า 6 เท่า จะเห็นได้ว่าสารตั้งต้นสารสื่อประสาทมีความสำคัญกับเด็กมาก
รูปที่ 2 กราฟเปรียบเทียบความต้องการสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทสำคัญในเด็กและผู้ใหญ่
จากผลการวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ดื่มนมผสมซึ่งปรับเพิ่ม Alpha-lactalbumin สูงจะได้รับสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทสำคัญมากกว่าเด็กที่ดื่มนมผงทั่วไปอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้เด็กที่ดื่มนมที่มีสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทสูงจะสามารถนอนหลับได้ดีกว่าและมีอารมณ์ดีกว่าเด็กที่ดื่มนมผสมทั่วไป ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อพฤติกรรม การเรียนรู้ และการพัฒนาของสมอง โดยร่างกายเด็กต้องการสารตั้งต้นสูงถึง 19 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการเพียง 3 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
เนื่องจาก Alpha-lactalbumin เป็นโปรตีนส่วนใหญ่ที่อยู่ในนมแม่ โดยในนมแม่มีเวย์ (หางนม) เป็นสัดส่วนประมาณ 70% แต่ในนมวัวมีหางนมเพียง 20% เท่านั้น ในหางนมนี้เองที่มี Alpha-lactalbumin สูงถึง 41% โปรตีนในนมวัวที่ในนมแม่ไม่มีคือ Beta-lactoglobulin เป็นโปรตีนที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้นมวัวในเด็กได้
น้ำนมแม่ (Mature Milk)(5) ประกอบด้วย
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณโปรตีนในนมแต่ละชนิดกับนมสำเร็จรูป(8)
ในปัจจุบันมีการค้นพบสารต้านจุลชีพตัวใหม่ในน้ำนม เรียกว่า HAMLET (Human Alpha-lactalbumin Made Lethal to Tumor cells)(9) เป็น protein-lipid complex (ประกอบด้วยโปรตีน Alpha-lactalbumin และไขมัน oleic หรือ linoleic acid) ที่แยกได้จาก Casein ในน้ำนม มีการรายงานพบว่าสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจได้หลายชนิด คือ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae และบางสายพันธุ์ของ Moraxella catarrhalis การศึกษาของ Marks และคณะ แสดงให้เห็นคุณสมบัติของ HAMLET ที่น่าสนใจคือ เมื่อใช้ HAMLET ร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อ S. pneumoniae คือ penicillin, erythromycin หรือ gentamicin พบว่าปริมาณยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อลดลง ทั้งในกรณีของเชื้อสายพันธุ์ที่ไวและดื้อต่อยา ยิ่งในเชื้อดื้อยา ปริมาณยาที่ยับยั้งเชื้อได้ลดลงถึงเกณฑ์ที่จัดว่าเป็นเชื้อไวต่อยาเลยทีเดียว ดังนั้น HAMLET จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ นำไปพัฒนาเพื่อใช้รักษาการติดเชื้อดื้อยา(9)
จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า Alpha-lactalbumin มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มการขับเคลื่อนการทำงานของสมอง การควบคุมอารมณ์ การรับประทานอาหาร และการนอนหลับ ส่งผลให้สมองและความคิดทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และมีมากที่สุดในน้ำนมของแม่นั้นเอง ส่วนในอาหารเสริมสำหรับเด็กนั้น สามารถช่วยได้ในกรณีที่แม่ไม่มีนมให้ลูกนั่นเอง และที่สำคัญอาจมีการใช้ Alpha-lactalbumin เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ในอนาคต
เอกสารอ้างอิง