ช่วยลูกจัดการกับความรู้สึกอายอย่างไร
พญ.พัทธ์ธีรา ดิษยวรรณวัฒน์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ในช่วงชีวิตของทุกคนคงจะต้องเจอกับเรื่องที่รู้สึกอายบ้าง สำหรับผู้ใหญ่ความรู้สึกอายคงจะเป็นเรื่องที่จัดการได้ไม่ยาก แต่สำหรับเด็กหลาย ๆ คน ความรู้สึกนี้ค่อนข้างทำให้ลำบากใจ เป็นทุกข์ และอาจนำไปสู่ปัญหาอารมณ์วิตกกังวลหรือความกลัวการเข้าสังคมเลยทีเดียว ผู้ปกครองคงไม่สามารถปกป้องลูกจากความรู้สึกนี้ได้ แต่ผู้ปกครองสามารถสร้างความเข้มแข็งและความมั่นใจทางบวกให้แก่เด็กได้ดังนี้
เป็นตัวอย่างการจัดการความรู้สึกที่ดี
โดยธรรมชาติแล้วเด็กจะเลียนแบบผู้ปกครองในการจัดการความรู้สึกที่ยากลำบากต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อเรากำลังให้เด็กเสริมสร้างลักษณะนิสัยทางบวก ขั้นแรกคือสำรวจตัวเองว่าเราจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ อย่างไร หลังจากที่สำรวจตัวเองแล้ว คุณสามารถเริ่มเป็นตัวอย่างลักษณะนิสัยทางบวกให้แก่เด็กในการจัดการความรู้สึกอายได้ดังนี้
ให้ความสำคัญกับความรู้สึกอายของเด็ก
ความรู้สึกอายของเด็กถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม ก็อาจจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นทุกข์ได้มากสำหรับเด็กเช่นกัน ถ้าเด็กรู้สึกอายผู้ปกครองไม่ควรจะละเลยความรู้สึกของพวกเขา เพราะเด็กอาจจะรู้สึกเหมือนถูกปฏิเสธได้
อย่าวิตกกังวลเกินไป
เมื่อเด็กกำลังวิตกกังวล พวกเขาไม่ต้องการให้ผู้ปกครองกังวลไปด้วย หรือโกรธแทนเขา และส่วนใหญ่แล้วพวกเขาไม่ได้ต้องการให้คุณช่วยทำอะไรให้เขา การที่ผู้ปกครองวิตกกังวลจนเกินเหตุนั้นอาจจะทำให้พวกเขาไม่อยากที่จะเล่าความรู้สึกให้ฟัง โดยเฉพาะสถานการณ์ที่พวกเขาเกิดความอับอาย การที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับสถานการณ์นั้นมากไปจะทำให้ความรู้สึกแย่ลง
ชมความสามารถของเด็ก
เมื่อเด็กเล่าถึงสถานการณ์ที่อับอาย หลังจากที่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของพวกเขาโดยไม่วิตกกังวลเกินไปแล้ว ให้ผู้ปกครองกล่าวชมความสามารถในการจัดการปัญหาของพวกเขา อย่างเช่น การมีสติและสมาธิที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การมองความสามารถที่มีอยู่ในเหตุการณ์นั้นทำให้เด็กมองเห็นความเข้มแข็งในตัวของพวกเขาและใช้ความสามารถนั้นได้ ตัวอย่างเช่น “แม่รู้ว่ามันน่าอาย แต่แม่ภูมิใจที่ลูกกล้าหาญที่จะทำให้มันผ่านไปถึงแม้ว่ามันจะยาก”
ชวนให้มองมุมอื่น
ถ้าเด็กหกล้มในห้องเรียนและเด็กคนอื่นหัวเราะ เด็กอาจจะรู้สึกว่าทุกคนกำลังหัวเราะเยาะ และทุกคนจะจำมันได้ ผู้ปกครองอาจจะชวนในการมองมุมอื่น เช่น เขารู้สึกอย่างไรเมื่อเด็กคนอื่นทำอย่างเดียวกัน หรือเล่าประสบการณ์ของตนเองในเรื่องคล้าย ๆ กันที่เกิดขึ้น แต่ระมัดระวังไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบเพราะเด็กอาจจะรู้สึกแย่ได้ การช่วยให้เด็กมีมุมมองอื่นโดยที่ไม่มองข้ามความรู้สึกของพวกเขานั้นทำให้พวกเขามีเครื่องมือก้าวข้ามประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อไปในอนาคตได้
ควรจะเข้าไปช่วยเหลือหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อ