โครงการร่วม 2 หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

โครงการร่วม 2 หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา” และ โครงการวิทย์กีฬา/เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.)

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการโครงการร่วม 2 หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา” และ โครงการวิทย์กีฬา/เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) ขึ้น ณ ห้องประชุม 910BC ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีพันธกิจสำคัญในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และนักฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Paramedic นับว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มีความฉุกเฉินเร่งด่วน โดยการผนวกเข้ากันระหว่าง สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ถือเป็นมิติใหม่ของการดูแลผู้ป่วยเร่งด่วนที่เป็นบุคลากรสำคัญในด้านการกีฬาได้เป็นอย่างดี

เวชศาสตร์การกีฬา เป็นศาสตร์หนึ่งทางการแพทย์ที่มีบทบาทในการประเมินและดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากกีฬา โดยมีบุคลากรเฉพาะทางที่สำคัญ ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา นักกายภาพบำบัด และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ทำหน้าที่ดูแลผู้บาดเจ็บในสนามแข่งขันกีฬา และมีบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นักฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Advanced emergency medical technician: AEMT) หรือ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency medical technician: EMT) ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้บาดเจ็บระหว่างส่งต่อไปยังสถานพยาบาล เมื่อบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินได้เข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวนี้ จะทำให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บทั้งในสนามแข่งขันกีฬาและระหว่างส่งต่อสถานพยาบาลร่วมกับบุคลากรด้านเวชศาสตร์การกีฬามีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

โครงการร่วม 2 หลักสูตรนี้ จะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2565  โดยเปิดรับนักเรียนที่มีความสนใจเป็นนักฉุกเฉินการแพทย์เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน 5 คน ตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้ง 2 หลักสูตร จำนวน 5 ปี และจะได้รับปริญญา 2 ใบ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ และ ปริญญาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชนและพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งแนวคิดในการจัดทำโครงการร่วม 2 หลักสูตร กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นการสร้าง “นักฉุกเฉินการแพทย์ที่มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา” ให้สามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งในสถานพยาบาลและจุดเกิดเหตุได้อย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด ลดความเสี่ยงของการเกิดเหตุฉุกเฉินในภาวะวิกฤตในระหว่างการแข่งขันกีฬา หรือการเสียชีวิต

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรการแพทย์ฉุกเฉินด้านการกีฬา ระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งถือเป็นการบูรณาการและต่อยอดการศึกษา การวิจัย การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  ในการจัดการแข่งขันกีฬาและพัฒนานวัตกรรม ผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ วิชาชีพ สร้างการเปลี่ยนแปลงและยกระดับมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดการแข่งขันกีฬาให้ขยายผลออกไปในวงกว้าง และเป็นไปตามมาตรฐานสากลต่อไป           

แผนการรับนักศึกษา
โครงการร่วม ๒ หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์) - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)

          โครงการร่วม ๒ หลักสูตร เพื่อสร้างนักฉุกเฉินการแพทย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มีแผนการรับนักศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thailand university Central Admission System: TCAS) รูปแบบ Portfolio ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยกำหนดคุณสมบัติ ดังนี้

วุฒิการศึกษา : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาที่เปิดรับสมัคร

แผนการศึกษา : วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ หรือ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๒๒ หน่วยกิต คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต และ ภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) :ไม่น้อยกว่า ๓.๐๐

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) :วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า ๓.๐๐

มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ : ผู้สมัครเข้าศึกษาต้องมีผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ และผลการทดสอบมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : อ.นฉพ.เจษฎากร เจนพาณิชพงศ์ ผู้ช่วยอาจารย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อีเมล : chetsadakon.jen@mahidol.ac.th          
หรือติดตามข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : 

lifta 5 mg io games kartal masaj salonu hdabla papaz büyüsü aşk büyüsü bağlama büyüsü bodrum escort jigolo şirketleri jigolo siteleri jigolo ajansı jigolo şirketleri jigolo şirketleri jigolo siteleri jigolo siteleri jigolo şirketleri jigolo siteleri jigolo şirketleri mecidiyeköy escort şişli escort shell shockers unblocked