Taiwan Excellence ยกทัพผลิตภัณฑ์การแพทย์ล้ำยุค ตอบโจทย์ทั้ง Telemedicine และ Smart Medical
“Medical Fair Thailand 2023” งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยปีนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาการออกแบบนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงด้านสุขภาพอัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์จาก 15 บริษัทชั้นนำที่ได้รับรางวัลฯ มาร่วมออกบูธ เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีที่พร้อมขับเคลื่อนและส่งเสริมอุตสาหกรรมทางการแพทย์ให้สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาว เพ่ย หยู่ หลิน รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเชิงกลยุทธ์ของสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (TRITRA) เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลประเทศไต้หวันให้การส่งเสริมและสนับสนุนโดยมอบหมายให้ 15 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ จากประเทศไต้หวันที่ได้รับรางวัล “Taiwan Excellence” มาร่วมภายในงาน “Medical Fair Thailand 2023” มหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
เนื่องจากรัฐบาลประเทศไทยมีแผนที่จะขับเคลื่อนพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพื่อหวังจะสร้างให้กลายเป็นเศรษฐกิจใหม่ในอนาคตด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ดังนั้นงาน "Medical Fair Thailand 2023” จึงเปรียบเสมือนประตูที่จะเปิดโอกาสให้ประเทศไต้หวันได้สามารถนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์จาก 15 บริษัท ที่ได้รับการการันตีจากรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวัน (Taiwan Excellence Award) มาจัดแสดงโชว์ให้คนทั่วโลกได้เห็นถึงศักยภาพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์อันล้ำสมัยมากขึ้น ภายใต้แนวคิดที่มีชื่อว่า "Future Telemedicine: Connecting Healthcare, Caring for the World"
โดยมีการนำเสนออุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริการรักษาดูแลสุขภาพผู้ป่วยระยะไกลอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เครื่องมือที่ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับผู้ป่วยพร้อมกับได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ทั้งนี้ แต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับรางวัล Taiwan Excellence ต้องผ่านกลไกการคัดเลือกที่เข้มงวดถึง 4 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ 1.การวิจัยและการพัฒนา 2.การออกแบบ 3.คุณภาพ และ 4.การตลาด อีกทั้งยังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ “ผลิตในไต้หวัน” อีกด้วย จึงนับว่าเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence ของทั้ง 15 บริษัท จะเป็นดั่งตัวแทนของอุตสาหกรรมของไต้หวันที่จะเข้ามามีส่วนช่วยยกระดับศักยภาพประเทศไทยในฐานะที่กำลังกลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้จะเป็นการเข้ามาช่วยผู้ประกอบการคนไทย และบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ได้มีโอกาสนำเสนอขายเครื่องมือ เทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมประสิทธิภาพเชิงการรักษาใหม่ ๆ หวังจะช่วยกันยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เช่น นวัตกรรมด้านเครื่องมือวินิจฉัย อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์
เนื่องจากผู้ประกอบการของประเทศไต้หวัน มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในเรื่องของการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า แผงควบคุมต่าง ๆ ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เชื่อมต่ออยู่ในเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ที่จะมีเรื่องของระบบ AI เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะเทรนด์การรักษาในยุคนี้ได้พลิกไปสู่การรักษาโดยแพทย์ทางไกล Telemedicine ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทคโนโลยี สารสนเทศ อุปกรณ์มัลติมีเดีย มาช่วยสื่อสารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการดูแลและรักษาที่ก่อให้เกิดการคิดค้น วิจัย และวินิจฉัยโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ มากที่สุด
โดยยกตัวอย่าง 3 บริษัทชั้นนำจากไต้หวันที่ได้รับรางวัล “Taiwan Excellence” ที่มาร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อจะรองรับการรักษาTelemedicine ในงานครั้งนี้ ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคตเกี่ยวกับวิวัฒนาการด้านการดูแลรักษาสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ ประกอบด้วย
เครื่องเจาะเลือดและเก็บตัวอย่างเลือดสุญญากาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจดสิทธิบัตรของ Winnoz - HAIIM โดย Ms. Verisia Lin ผู้จัดการการตลาดและการสื่อสาร บริษัท วินโนซ เทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นเครื่องสามารถเจาะเลือดออกมาตรวจเสนอรายงานความเสี่ยงพร้อมการทดสอบพันธุกรรมเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี เครื่อง Winnoz - HAIIM นอกจากได้รับรางวัล Taiwan Excellence แล้วยังได้รับรองว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ของ Taiwan FDA Class อีกด้วย
บริษัท แอ็ท ออล อิน วัน เบ็นคิว เมดิคอลกรุ๊ป หนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ทางการแพทย์จากประเทศไต้หวัน ตั้งเป้าขยายตลาดทางการแพทย์สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดสำนักงานใหม่แห่งแรกที่ประเทศไทย เพื่อให้บริการด้านการล้างไต, การธนาคารเลือด, อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการบริการอื่น ๆ
โดย นายแฮร์รี่ หยาง ประธาน บริษัท เคทู เมดิคอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเสนอ Dialyzer หรือ เครื่องฟอกไตที่มีลักษณะเป็นท่อและภาชนะสำหรับแลกเปลี่ยนตัวถูกละลายระหว่างเลือดกับ Dialysate ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการบำบัดด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภายในตัวฟอกประกอบด้วยโครงสร้างรองรับเป็นหลักและเมมเบรนใยกลวง เพื่อช่วยระบายเลือดจากร่างกายออกสู่ภายนอกร่างกาย ผ่านเครื่องฟอกที่ประกอบด้วยเส้นใยกลวงจำนวนมาก ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและ เรื้อรัง
อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจไม่น้อยในงานนี้คือ Taiwan Surgical Clip Applier โดย Mr. Lewis Kuan ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ระดับภูมิภาค บริษัท Taiwan Surgical Corporation กล่าวว่า เป็นอุปกรณ์ ligation ผ่าตัดแบบมืออาชีพที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้องแบบส่องกล้องน้อยที่สุด เพื่ออุดหลอดเลือดและเนื้อเยื่อระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด
อุปกรณ์พิเศษนี้มีคุณสมบัติด้วยการป้อนคลิปอัตโนมัติเพื่อประหยัดเวลาในการโหลดคลิป กลไกป้องกันการกลับ และ การออกแบบทิชชู่-หยุดเพื่อป้องกันการหลุดของคลิปในระหว่างการยิงและลำดับการสร้างคลิป และพื้นผิวร่องคลิปด้านในเพื่อให้แน่ใจว่าการยึดคลิปบนโครงสร้างที่โดดเด่น ความแตกต่างของ Clip Applier ของ “Taiwan Surgical” คือการออกแบบนวัตกรรมด้ามจับแบบใช้ซ้ำได้ ซึ่งเข้ากันได้กับตลับคลิปขนาดหลายขนาด เพื่อความสะดวกในการจัดการสต็อก ทนทานต่อรอบการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ด้วยปุ่มหมุนตามหลักสรีรศาสตร์สำหรับการหมุนด้วยนิ้วเดียว ส่วนก้านป้องกันแสงสะท้อนเพื่อลดอิทธิพลของแสงสะท้อนต่อศัลยแพทย์ นับเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัยอย่างมาก
ไม่เพียง 3 นวัตกรรมจาก 3 บริษัทชั้นนำข้างต้นเท่านั้นภายในงานยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ตอบโจทย์ทั้ง Telemedicine และ Smart Medical อีกหลายชนิด ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยให้วงการแพทย์ยุคใหม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ อุปกรณ์การฉายภาพด้วยนวัตกรรมกล้อง PTZ เกรดทางการแพทย์ (AVer MD330U Medical Grade PTZ Camera) เพื่อตรวจสอบดูแลผู้ป่วยทางไกล และการถ่ายทอดสดการผ่าตัด ประกอบด้วยหัวกล้องมือถือแบบถอดได้ตัวแรกของโลก โดย บริษัท เอเวอร์ อินฟอร์เมชั่น (AVer Information Inc.), อุปกรณ์เอกซ์เรย์มือถือที่จะทำให้การเอกซ์เรย์เป็นเรื่องง่ายกว่าเคย และนับเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมทันตกรรมที่ก้าวล้ำ โดย บริษัท เอ็นเนอร์จี รีซอร์สเซส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ERI), โซลูชันหุ่นยนต์สำหรับการแพทย์และการผ่าตัดสุดล้ำ ช่วยให้เกิดแผลผ่าตัดน้อยที่สุด โดย บริษัท ไฮวิน เทคโนโลยี (HIWIN TECHNOLOGIES CORP.), นวัตกรรมระบบถ่ายภาพด้วยรังสีสำหรับวินิจฉัยมือ Revolux เครื่องเอ็กซเรย์มือพลังงานต่ำที่ผลิตในไต้หวันเครื่องแรกของโลก โดย บริษัท นาโนเรย์ ไบโอเทค จำกัด และ นวัตกรรม Optima Turn พื้นผิวที่ช่วยลดแรงกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง โดย บริษัท เวลเอล (Wellell Inc. เป็นต้น
ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Taiwan Excellence ที่มุ่งมั่นให้การสนับสนุนพร้อมทั้งเฟ้นหาผลิตภัณฑ์ชั้นเลิศเพื่อนำเสนอและแสดงศักยภาพผ่านเวทีระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทางด้านสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (TAITRA) ที่เดินหน้าผลักดัน ให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จทั้งเสียงตอบรับและความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต